การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของรากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคนิคไรโซตรอน
คำสำคัญ:
การเจริญเติบโตของราก, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ดินดาน, Compact soilบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโตของรากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5 พันธุ์ ด้วยเทคนิคไรโซตรอน เพื่อหาลักษณะการเจริญเติบโตของรากข้าวโพดที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตได้ดีในดินดานของพื้นที่หลังนาในช่วงฤดูแล้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ สิ่งทดลองประกอบด้วยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ A, B, C, D และ E ปลูกข้าวโพดในกระบะไรโซตรอน บันทึกการเจริญเติบโตทาง ลำต้น ทุก 7 วัน และติดตามการเจริญเติบโตของรากโดยถ่ายภาพรากจากพื้นที่หน้าตัดใสของกระบะไรโซตรอน ทุก 7 วัน วิเคราะห์ความยาวรากทั้งหมดและขนาดรากในพื้นที่ที่กำหนดด้วยโปรแกรม WinRhizo ผลการทดลองพบว่า ข้าวโพดพันธุ์ B มีความสูงมากที่สุด ส่วนพันธุ์ E มีขนาดลำต้นสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น และหลังจากการวิเคราะห์การเจริญเติบโตของรากพบว่า รากข้าวโพดมี 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. รากเจริญในแนวดิ่ง (พันธุ์ A, B และ C) และ 2. รากเจริญออกทางด้านข้าง (พันธุ์ D และ E) โดยพบข้าวโพดพันธุ์ E มีความยาวรากมากที่สุด ในขณะที่ขนาดของรากในพื้นที่ที่กำหนดพบค่าสูงสุดในข้าวโพดพันธุ์ B รองลงมาได้แก่ พันธุ์ D และ E ข้าวโพดพันธุ์ E มีลักษณะการเจริญเติบโตของรากที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ
References
ศิราณี วงศ์กระจ่าง. 2557. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดในชุดดินบ้านทอน. วารสารแก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ): 259-262.
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. 2561. โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนแล้ง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://programming.cpe.ku.ac.th/AgriInformatics/viewProject.php?itemID=2761. (21 พฤษภาคม 2561).
สถาบันวิจัยพืชไร่. 2539. การปลูกพืชไร่ในนาข้าวเขตชลประทาน. กสิกร 66: 154-155.
Atwell, B.J. 1999. Plants in action: adaptation in nature, performance in cultivation. Macmillan Publishers. Victoria. 664 p.
Bohm. W. 1979. Method of Studying Root System. Springer. Berlin. 188 p.
Chaudhary, P.,S. Godara, A.N. Cheeran, and A.K. Chaudhari. 2012. Fast and Accurate Method for Leaf Area Measurement. International Journal of Computer Applications 49 : 22-25.
Chen, X., M. Kou, Z. Tang, A. Zhang, H. Li, and M. Wei. 2017. Responses of root physiological characteristics and yield of sweet potato to humic acid urea fertilizer. (Online). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0189715 . (September 13, 2108).
Dong, C., Z. Liu, and X. Yang, 2014. Effects of different grade drought on grain yield of spring maize in Northern China. Transactions of the Chinese Society of Agricultural Engineering 31 : 157-164.
Esser, K.B. Hardpan and maize root distribution under conservation and conventional tillage in agro-ecological zone IIA, Zambia. 2016. African Crop Science Journal. 24 : 2670-287.
Kapulnik Y., N. Resnick, E. Mayzlish-Gati, Y. Kaplan, S. Wininger, and J. Hershenhorn. 2011. Strigolactones interact with ethylene and auxin in regulating root-hair elongation in Arabidopsis. Journal of Experimental Botany. 62 : 2915-2924.
Kelly, J., J.L. Crain, and W.R. Raun. 2011. By-plant prediction of corn (Zea mays L.) grain yield using height and stalk diameter. Communications in Soil Science and Plant Analysis. 46 : 564-575.
Lambert, R., B.D. Mansfield, and R.H. Humm, 2014. Effect of leaf area on maize productivity. Maydica. 59 : 58-64.
Majdi, H. 1996. Root sampling methods-applications and limitations of the minirhizotron technique. Plant and Soil. 185 : 255-258.
Sun, X., Z. Ding, X. Wang, H. Hou, B. Zhou, Y. Yue, W. Ma, J. Ge, Z. Wang and M. Zhao. 2017. Subsoiling practices change root distribution and increase post-anthesis dry matter accumulation and yield in summer maize (Online). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0174952. (September 13, 2018).