พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าประเภทผักสด: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการเกษตร ร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ กิตติจินดาวงศ์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คํามณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, สินค้าผักสด, วิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน, ตำบลท่าเสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าประเภทผักสด 2) พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าประเภทผักสดตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และ 3) ปัญหาในการเลือกซื้อสินค้าประเภทผักสด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าประเภทผักสดจากวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000.00  บาท มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.27 คน สำหรับพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าประเภทผักสดเมื่อพิจารณาตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด  พบว่า  ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านราคามากที่สุด  รองลงมา คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ปัญหาในการเลือกซื้อสินค้าที่ผู้บริโภคพบมากที่สุด คือ ปัญหาสินค้าไม่มีมาตรฐานรับรอง

References

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. 2556. ผักและผลไม้ (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.thaibiz.net/th/business/314/. (10 ธันวาคม 2560)

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. วิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.sceb.doae.go.th/qr-code/1_57tha-sao.html. (12 มกราคม 2561)

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network [Thai-PAN]). 2559. รายงานผลการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในผักผลไม้ครั้งที่2/2559. (เอกสารอัดสำเนา). 17 หน้า

ณัฐธิดา ปัญญามากไพบูลย์ และพันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. 2561. พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจเลือกซื้อผักสลัดของผู้บริโภคในสถานประกอบการ PB Vally KaoYai Winery อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา . วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 1 (2): 37-46.

ไทยเกษตรศาสตร์. 2555. ความสำคัญของพืชผัก (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.thaikasetsart.com/. (10 ธันวาคม 2560)

ผู้จัดการออนไลน์. 2561. บริโภคผักผลไม้ 99 ใน 100 มีสารพิษตกค้าง! เหตุ ขรก.รู้เห็นให้ใช้สารอันตรายฆ่าหญ้า (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล https://mgronline.com/specialscoop/detail/9610000088757. (14 กันยายน 2561)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ