ผลของบรรจุภัณฑ์ วิธีการบรรจุ และอุณหภูมิต่อคุณภาพหลังเก็บเกี่ยวของใบมะกรูด

ผู้แต่ง

  • อนันตญา แสนคำ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน
  • เกียรติสุดา เหลืองวิลัย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน
  • กมลวรรณ แสงสร้อย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง, พอลิเอทิลีน, อายุการวางจำหน่าย

บทคัดย่อ

ใบมะกรูดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการผลิตเพื่อการค้าและส่งออกเพิ่มขึ้น แต่พบปัญหามีอายุการเก็บรักษาสั้นและการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวมีน้อย จึงศึกษาผลของบรรจุภัณฑ์ วิธีการบรรจุ และอุณหภูมิ เพื่อยืดอายุเก็บรักษาใบมะกรูด จากผลการทดลองพบว่า ถุงพอลิโพรพิลีน (PP) และถุงพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) เหมาะสมในการเก็บรักษาใบมะกรูดมากที่สุด มีการเสียน้ำหนัก 2.82-6.35 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับน้ำหนักเริ่มต้น ปริมาณวิตามินซีลดลงจาก 11.24 เหลือ 3.80-5.62 mg Ascorbic acid/100 mL juice และมีคะแนนกลิ่นที่ระดับ 4 จาก 5 คะแนน เมื่อเก็บรักษานาน 14 วัน นอกจากนี้ วิธีการบรรจุ (บรรจุใบมะกรูดทั้งกิ่ง และ บรรจุเฉพาะใบมะกรูดที่ปลิดจากกิ่ง)  และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 และ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ 80-90 % ไม่มีผลต่อการเสียน้ำหนัก ปริมาณวิตามินซี กลิ่น และอายุเก็บรักษาของใบมะกรูดหลังเก็บรักษานาน 7 วัน  แต่ที่การเก็บ 14 วัน พบว่าที่ใบมะกรูดที่บรรจุเฉพาะใบที่ปลิดจากกิ่งที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีค่าความเป็นสีเขียว (a*) มากกว่าใบมะกรูดที่เก็บรักษาที่ 15 องศาเซลเซียส

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2544. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลัง

การเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิตา สุนทรวิภาต. 2553. ผลของภาชนะบรรจุดัดแปลง

บรรยากาศและอุณหภูมิต่อคุณภาพของใบมะกรูด.คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เบญจมาส รัตนชินกร และ คณะ. 2550. ผลของ

อุณหภูมิต่ออายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ตัดแต่งพร้อมบริโภค. สำนักงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และ สมพร คงเจริญเกียรติ. 2554.

บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย

สังคม เตชะวงศ์เสถียร. 2547. สรีรวิทยาของพืชสวน.

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อภิตา บุญศิริ และ อนงค์นาฎ สมหวังธรโรจน์. 2556. การยืดอายุการเก็บรักษาและรักษาคุณภาพเห็ดฟางด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้จากยางพาราได้อย่างปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคเพื่อการ

ส่งออก. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

A.O.A.C. 1990. Official Method of Analysis. Association of Official Chemists, Inc., Virginia.

Chaliha, M., Cusack, A., Currie, M., Sultanbawa, Y. and Smyth, H. 2013. Effect of packaging materials and storage on major volatile compounds in three Australian native herbs. Journal of agricultural and food chemistry, 61(24), 5738-5745.

Lee, S. K., and Kader, A. A. (2000). Preharvest

and postharvest factors influencing vitamin C content of horticultural crops. Postharvest biology and technology, 20(3), 207-220

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ