ผลทางอัลลีโลพาธีของสารสกัดด้วยน้ำจากใบและลำต้นของดาวเรืองต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชและพืชปลูก
คำสำคัญ:
อัลลีโลพาธี, ดาวเรือง, สารสกัดด้วยน้ำบทคัดย่อ
การศึกษาผลทางอัลลีโลพาธีของสารสกัดด้วยน้ำจากใบและลำต้นของดาวเรือง 3 ชนิด ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน ดาวเรืองฝรั่งเศส และดาวเรืองพื้นเมือง ที่มีต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชใบกว้าง ได้แก่ ก้นจ้ำขาว (Biden pilosa L.) และตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens L.) และพืชปลูก ได้แก่ กวางตุ้ง (Brassica rapa subsp. chinnensis L.) และผักกาดขาว (B. rapa subsp. pekinensis (Lour.) Hanelt) โดยการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทดสอบด้วยสารสกัดที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ 2.5, 5.0 และ 10.0 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ บันทึกผลทางอัลลีโลพาธีของสารสกัดด้วยน้ำจากดาวเรือง โดยเปรียบเทียบกับสารกำจัดวัชพืช pendimethalin และน้ำเป็นชุดควบคุม วัดความยาวรากและลำต้นของพืชทดสอบหลังจากพ่นสารสกัดจากดาวเรือง 7 วัน ผลการทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำจากลำต้นของดาวเรืองฝรั่งเศสที่ระดับความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของกวางตุ้งและผักกาดขาว และยังมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของก้นจ้ำขาวและตีนตุ๊กแกได้ไม่แตกต่างกับสารกำจัดวัชพืช pendimethalin
References
จรงค์ศักดิ์ พุมนวน และ มณทินี ธีรารักษ์. 2555. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากดาวเรือง (Tagetes erecta L.) ในการควบคุมหนอนใยผัก (Plutella xylostella L.). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 30(2): 1-7.
จำเนียร ชมภู จุฑามาศ เมรสนัด ราตรี บุญเรืองรอด และ ทศพล พรพรหม. 2560. ผลของระยะเวลาในการแช่สารสกัดด้วยน้ำจากดาวเรืองต่อประสิทธิภาพทางอัลลีโลพาธี. น. 410-420 ใน การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13, 21-23 พฤศจิกายน 2560 โรงแรมเรือรัษฎา, ตรัง.
จำเนียร ชมภู วันเฉลิม ศรีปทุมรัตน์ ณัฐวุฒิ กุมภรรณ์ พิสิษฐ์ จุสมใจ วิภาวรรณ ท้ายเมือง และ ราตรี บุญเรืองรอด. 2562. ผลทางอัลลีโลพาธีของผงบดดาวเรืองในชุดดินต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชและพืชปลูก. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 6(2): 42-52.
ทศพล พรพรหม. 2560. สารกำจัดวัชพืช หลักการ และกลไกการทำลายพืช. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 405 หน้า
พรสุข ชัยสุข. 2558. ผลของสารสกัดจากดาวเรืองในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมมะเขือเทศ. วารสารเกษตร 31(3): 311-318.
พูลทรัพย์ สุภา. 2534. การศึกษาลักษณะและการประเมินประชากรดาวเรืองในภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 134 หน้า.
ศิริพร ซึงสนธิพร ธัญชนก จงรักไทย และ มัตติกา ทองรส. 2558. การศึกษาชนิดของวัชพืชของพืชนำเข้า พืชตระกูลกะหล่ำ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/research/showthread.php?tid=803&pid=805 (30 กุมภาพันธ์ 2560).
สายชล เกตุษา. 2531. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 291 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2554-2560. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th (11 เมษายน 2562).
สุรเดช สดคมขำ. 2560. สถานการณ์การผลิตการตลาดไม้ดอกไม้ประดับของไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.technologychaoban.com/flower-and-decorating-plants/article_41764 (20 กุมภาพันธ์ 2562).
Ahmad, S., M. Arfan, A.L. Khan, R. Ullah, J. Hussain, Z. Muhammad, R. Khan, N. Khan and K.N. Watanabe. 2011. Allelopathy of Teucrium royleanum Wall. Ex Benth. from Pakistan. Journal of Medicinal Plants Research 5(5): 765-772.
Alhammadi, A.A. 2008. Allelopathic effect of Tagetes minuta L. water extracts on seed germination and seedling root growth of Acacia asak. Assiut University Bulletin for Environmental Researches 11(1): 17-24.
Belz, R.G., K. Hurle and S.O. Duke. 2005. Dose-response-a challenge for allelopathy?. Nonlinearity in Biology, Toxicology, and Medicine 3: 173-211.
Dittmar, P.J., N.S. Boyd and R. Kanissery. nd. Weed control in cole or brassica leafy vegetables (broccoli, cabbage, cauliflower, collard, mustard, turnip and kale). Ufifas Extension University of Florida HS189.
Macias, F.A., D. Marin, A. Oliveros-Bastidas, R.M. Varela, A.M. Simonet, C. Carrera and J.M.G. Molinillo. 2003. Allelopathy as a new strategy for sustainable ecosystems development. Biological Sciences in Space 17(1): 18-23.
Moreland, D.E. and W.P. Novitzky. 1987. Effect of phenolic acids, coumarins, and flavonoids on isolated chloroplasts and mitochondria. pp. 247-261. In G.R. Waller, ed. Allelochemical in Agriculture and Forestry. Amsterdam: Elsevier Science Publishers, Washington DC.
Muscolo, A., M.R. Panuccio and M. Sidari. 2001. The effect of phenols on respiratory enzymes in seed germination respiratory enzyme activities during germination of Pinus laricio seeds treated with phenols extracted from different forest soils. Plant Growth Regulation 35: 31-35.
Poonpaiboonpipat, T. 2017. Allelopathic effect of Barleria lupulina Lindl. on germination and seedling growth of pigweed and barnyardgrass. Naresuan University Journal: Science and Technology 25(4): 44-50.
Priyanka, D., T. Shalini and V.K. Navneet. 2013. A brief study on marigold (Tagetes species): a review. International Research Journal of Pharmacy 4(1): 43-49.
R Development Core Team. 2014. R: language and environment for statistical computing. R foundation for statistical computing. (Online). http://www.R-project.org. (May 20, 2017).
Rice, E.L. 1984. Allelopathy. 2nd ed. Academic, New York.
Rimondo, M.A. 2001. Searching for rice allelochemical: an example of bioassay-guided isolated. Agronomy
Journal 93: 16-20.
Sadia, S., R. Qureshi, S. Khalid, B.G. Nayyar and J. Zhang. 2015. Role of secondary metabolites of wild marigold in suppression of Johnson grass and Sun spurge. Asia Pacific Journal of Tropical Biomedicine 5(9): 733-737.
Singh, H.P., D.R. Batish and R.K. Kohli. 2003. Allelopathic interactions and allelochemicals: new possibilities for sustainable weed management. Critical Reviews in Plant Sciences 22(3-4): 239-311.
Sisodia, S. and M.B. Siddiqui. 2010. Allelopathic effect by aqueous extracts of different parts of Croton bonplandianum Baill. on some crop and weed plants. Journal of Agricultural Extension and Rural Development 2(1): 22-28.
Suwal, M.M., A. Devkota and H.D. Lekhak. 2010. Allelopathic effects of Chromolaena odorata (L.) King & Robinson on seed germination and seedlings growth of paddy and barnyard grass. Scientific World 8(8): 73-75.
Wu, A.P., H. Yu, S.Q. Gao, Z.Y. Huang, W.M. He, S.L. Miao and M. Dong. 2009. Differential belowground allelopathic effects of leaf and root of Mikania micrantha. Tree 23: 11-17.