ความรู้และความต้องการการส่งเสริมการควบคุม เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูของเกษตรกรในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศักดิ์สกุลคุณากร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การควบคุม, เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู, อำเภอบ้านบึง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตมันสำปะหลัง 3) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง 4) ความต้องการการส่งเสริมการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูของเกษตรกร                         กลุ่มตัวอย่างจำนวน 164 ราย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2563/64 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.67 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลัง เฉลี่ย 22.2 ปี มีจำนวนพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง เฉลี่ย 24.54 ไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายมันสำปะหลังต่อไร่เฉลี่ย 8,205.37 บาท ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เฉลี่ย 3,500.49 กิโลกรัม 2) เกษตรกรร้อยละ 47.0 นิยมปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ร้อยละ 73.2 ของเกษตรกรเก็บท่อนพันธุ์ไว้ใช้เอง โดยใช้ท่อนพันธุ์อายุระหว่าง 10 -12 เดือน และเกษตรกรร้อยละ 84.8 ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูก 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูอยู่ในระดับมาก ในด้านความรู้เกี่ยวกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูด้านการสนับสนุนและด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูด้านการส่งเสริมและสนับสนุนในระดับปานกลาง และข้อเสนอแนะของเกษตรกรให้เจ้าหน้าที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ดี เพื่อให้เกษตรกรได้มีแหล่งศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่อง เทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เพื่อเป็นทางเลือกในการลดต้นทุนการใช้สารเคมีของเกษตรกรและเป็นการอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ

References

กรมวิชาการเกษตร. 2561. มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร ต้นมันสำปะหลัง. เอกสารวิชาการ. สำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร. 14 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2563. เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง. เอกสารวิชาการ. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, กรุงเทพมหานคร. 10 หน้า

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2562. การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง. เอกสารวิชาการ. สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี, กรุงเทพมหานคร. 29 หน้า

ชนิดา เกตุแก้วเกลี้ยง. 2557. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย.วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 129 หน้า.

ชัชวาลย์ ใจฟอง. 2564. การส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 125 หน้า.

นุชณา ภัทรไพบูลย์ชัย. 2565. การส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสําปะหลังของเกษตรกรในตําบลเขาทองอําเภอพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi 7(10): 348-363.

ปภาดา เผ่าเพ็ง. 2562. แนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 138 หน้า.

ปิยะธิดา อ่อนพันธ์. 2557. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 115 หน้า.

พัทยา ชุมเพชร. 2562. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 111หน้า.

สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี. 2561. มันสำปะหลัง พืชไร่ที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี. สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี, ชลบุรี. 96 หน้า.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์. 2564. มันสำปะหลัง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/nakhonsawan-download-publications. (10 กันยายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. แนวทางการจัดทำเขตส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.oae.go.th/assets/portals/1/ebookcategory/91_Guidelineseconomiccrops2565/(12 กันยายน 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ