ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรใน อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัฐวนันท์ พันธุมาตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความต้องการการส่งเสริม, การผลิตมันสำปะหลัง, อำเภอบ้านบึง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิต        มันสำปะหลัง 3) ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลัง 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง                  และ5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง             อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2564 จำนวน 164 ราย            เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการจัดลำดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.26 ปี            ร้อยละ 48.20 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 21.78 ปี มีพื้นที่ปลูก             มันสำปะหลังเฉลี่ย 23.84 ไร่ แรงงานที่ใช้ในการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 4.52 คน ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ยต่อไร่ 3,470.30 กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 4,750.70 บาท รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 8,108.43 บาท    2) เกษตรกรส่วนใหญ่ยกร่องปลูก ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เก็บท่อนพันธุ์ไว้ทำพันธุ์เองและปลูกพันธุ์ระยอง 9 ใช้ท่อนพันธุ์อายุมากกว่า 11 เดือน เกษตรกรพบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและโรคพุ่มแจ้ในแปลงปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อต้นมัน        มีอายุระหว่าง 11-12 เดือน และขายหัวมันสดทันทีหลังเก็บเกี่ยว 3) ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลัง                ของเกษตรกรมีระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.03 คะแนน 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุด ในประเด็น การสนับสนุนเงินโครงการประกันรายได้ผู้ปลูกมันสำปะหลัง 5) ปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ ปัญหาปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชราคาแพง และเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง  ดังนั้นควรสนับสนุนความรู้วิชาการ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตตามความต้องการของเกษตรกร

References

ชัชวาลย์ ใจฟอง. 2565. การส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. Journal of Roi Kaensarn Academi 7(10): 67-82.

ชนิดา เกตุแก้วเกลี้ยง. 2557. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 129 หน้า.

นุชณา ภัทรไพบูลย์ชัย. 2565. การส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Roi Kaensarn Academi 7(10): 348-363.

บุญถม คำภาค. 2557. การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 131 หน้า.

ปภาดา เผ่าเพ็ง. 2562. แนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 138 หน้า.

ปิยะธิดา อ่อนพันธ์. 2557. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 115 หน้า.

ปรวัฒน์ สีฟูม. 2564. ความต้องการการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 117 หน้า.

โศภิษฐ์ คำแก้ว. 2555. การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 102 หน้า.

สืบศักดิ์ บุญสืบ. 2563. การส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 119 หน้า.

โสภณ ทองสถิตย์. 2556. การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 106 หน้า.

สุรเชษฐ์ จำพันธุ์. 2564. การส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 128 หน้า.

สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี. 2561. มันสำปะหลัง พืชไร่ที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี. สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี, ชลบุรี. 96 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี2564. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล www.oae.go.th/view/1 (26 พฤษภาคม 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. แนวทางการจัดทำเขตส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล www.oae.go.th. (5 ตุลาคม 2565).

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6. 2564. การเพิ่มศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคตะวันออก กรมวิชาการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล www.doa.go.th/share/showthread.php. (1 พฤศจิกายน 2565).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ