การใช้ประโยชน์วัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรสและขี้เถ้าลอยต่อผลผลิต ของมันสำปะหลัง และสมบัติของดินบางประการ

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ คล้ำชื่น คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ชัยสิทธิ์ ทองจู ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • เกวลิน ศรีจันทร์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • อัญธิชา พรมเมืองคุก ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สิรินภา ช่วงโอภาส ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สุชาดา กรุณา ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ศิริสุดา บุตรเพชร ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ชาลินี คงสุด ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ธรรมธวัช แสงงาม ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

ผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ), ขี้เถ้าลอย, มันสำปะหลัง

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอย (อัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร/น้ำหนัก) ต่อผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และสมบัติของดินบางประการ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ทำการปลูก 2 ครั้ง จำนวน 3 ซ้ำ 8 ตำรับทดลอง ผลการทดลอง พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ มีผลให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งต่อพื้นที่ของมันสำปะหลังมากที่สุด รองลงมา คือ การใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ นอกจากนี้ การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ยังมีผลให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อหัวของมันสำปะหลังมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ และการใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ ภายหลังการทดลอง พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ มีผลให้ค่า pH, ECe และปริมาณอินทรียวัตถุของดินมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ และการใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ขณะที่การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ มีผลให้ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2558. คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ชัยสิทธิ์ ทองจู, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ศุภชัย อำคา และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. 2560. ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้ของโรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อย และสมบัติของดิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 6 (1) : 21-32.

ทิพวรรณ แก้วหนู, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธงชัย มาลา, ศุภชัย อำคา, วิภาวรรณ ท้ายเมือง, ชาลินี คงสุด, ธีรยุทธ คล้ำชื่น, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์ และศิริสุดา บุตรเพชร. 2557. ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากกากตะกอนยีสต์และน้ำวีแนสต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลัง, 53-66 น. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

ธนศมณท์ กุลการัณย์เลิศ, ชัยสิทธิ์ ทองจู และศุภชัย อำคา. 2555. ผลของกากน้ำตาลผงชูรส (อามิ-อามิ) ผสมขี้เถ้าลอยต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แปซิฟิค 999. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1 (1) : 29-41.

ธนูชัย กองแก้ว. 2550. การประยุกต์ใช้กากน้ำตาลผงชูรส (น้ำอามิ-อามิ) เป็นปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง. วารสารแก่นเกษตร 35 (4): 411-418.

พงษ์นรินทร์ นิ่มนวล, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ศุภชัย อำคา, ปิยะ กิตติภาดากุล และศิริสุดา บุตรเพชร. 2556. การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือใช้จากโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลัง, น. 73-85. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2551. คู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินทางฟิสิกส์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ภาณุพงศ์ ชลชลา, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธงชัย มาลา, ศุภชัย อำคา, วิภาวรรณ ท้ายเมือง, ชาลินี คงสุด, ธีรยุทธ คล้ำชื่น, ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์ และศิริสุดา บุตรเพชร. 2557. ผลของการใช้กากน้ำตาลผงชูรส (อามิ-อามิ) ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลัง, 67-80 น. ใน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ, นครปฐม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2554-2556. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558-2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Bray, R.H. and N. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 59: 39-45.

Pratt, P.F. 1965. Potassium. P. 1022-1030. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. Amer. Soc. of Agron, Inc. Madison, Wisconsin.

Soil Survey Staff. 2003. Key to Soil Taxonomy: Ninth Edition. United States Department of Agriculture, Natural Resources Conservation Survice, Washington, D.C. 332 p.

Thongjoo, C., S. Miyagawa, and N. Kawakubo. 2005. Effect of soil moisture and temperature on decomposition rates of some waste materials from agriculture and agro-industry. Plant Prod. Sci. 8(4): 475-481.

Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chronic acid titration method. Soil Sci. 37: 29-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ