ความต้องการการส่งเสริมการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ ของเกษตรกรในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
หนอนหัวดำมะพร้าว, มะพร้าว แตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์, การควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ 3) ความต้องการการส่งเสริมการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียน
บราคอน ฮีบีเตอร์ ของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2564 จำนวน 142 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.14 ปี ร้อยละ 32.4 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ได้รับการอบรมด้านการเกษตรเฉลี่ย 2.11 ครั้ง/ปี มีพื้นที่ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 24.01 ไร่ เกษตรกรทั้งหมดมีที่ดินเป็นของตนเอง
มีประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 21.70 ปี ได้ผลผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 488.52 ผล/ไร่/ปี มีรายได้จากการผลิตมะพร้าวของครัวเรือนเฉลี่ย 119,915.49 บาท/ปี มีต้นทุนในการผลิตมะพร้าวเฉลี่ย 19,183.10 บาท/ปี มีแรงงานภาคการเกษตร
ของครัวเรือนเฉลี่ย 1.70 คน 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 9.32 คะแนน 3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ โดยต้องการแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ มากที่สุด 4) เกษตรกรมีปัญหาขาดการสนับสนุนแตนเบียน บราคอน ฮีบีเตอร์ ในระยะตัวเต็มวัยเพื่อนำไปปล่อยในแปลงมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ การสนับสนุนแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์ ในระยะตัวเต็มวัยเพื่อนำไปปล่อยในแปลง และควรมีการจัดทัศนศึกษา/ดูงาน เรื่องการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยแตนเบียนบราคอน ฮีบีเตอร์
References
กรมวิชาการเกษตร. 2560. การจัดการศัตรูมะพร้าว. เอกสารวิชาการ. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กรุงเทพมหานคร. 96 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. รายงานสถานการณ์ระบาดศัตรูพืชของพืชเศรษฐกิจหลัก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://report-ppsf.doae.go.th/observe/report-outbreak-breed/index (25 มิถุนายน 2565).
นิภาดา เจริญธนกิจกุล. 2558. แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอ่อนของเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.107 หน้า.
เยาวรัตน์ ศรีวรานันท์, นุชรีย์ ศิริ, ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, และเสาวภา ป้องโล่ห์. 2564. การยอมรับและความเต็มใจจ่ายสำหรับผลิตภัณฑ์แตนเบียนของหนอนกออ้อยของเกษตรกร. วารสารแก่นเกษตร 49(2): 391 - 403.
วรรณพร อยู่มั่นคง. 2562. ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวในมะพร้าวด้วยวิธีผสมผสาน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(1): 144-153.
ศิริชัย บัวทอง. 2558. การป้องกันกําจัดหนอนหัวดำมะพร้าวของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. หน้า 1-15. ใน:
การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
สำนักงานเกษตรอำเภอบางละมุง. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอบางละมุง 5 ปี (2561-2565 ฉบับทบทวน). ชลบุรี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูลhttps://www.opsmoac.go.th/kanchanaburi-dwl-files-441191791054 ( 24 มิถุนายน 2565).
สุนิศา สงวนทรัพย์. 2557. การใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าว Opisina arenosella Walker (Lepidoptera: Oecophoridae). รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร. 55 หน้า
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.