ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐสิมา บริบูรณ์ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, เกษตรแบบผสมผสาน, จังหวัดปราจีนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการทำการเกษตรแบบผสมผสาน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสาน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 196 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 130 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ เฉลี่ย 58.02 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.37 คน จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา พื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง มีจำนวนแรงงานทำการเกษตรแบบผสมผสาน เฉลี่ย 2.13  คน มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.28 ปี  มีรายได้ของครัวเรือนจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 110,796.19 บาทต่อปี มีรายจ่ายของครัวเรือนจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 29,965.00 บาทต่อปี มีต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรแบบผสมผสานเฉลี่ย 21,393.85 บาทต่อปี มีผลผลิตทางการเกษตรเฉลี่ย 1,141.38 กิโลกรัมต่อไร่ 2) สภาพพื้นที่ทำการเกษตรเป็นที่ราบลุ่ม มีรูปแบบการทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยคอกในการปรับปรุงบำรุงดิน มีแหล่งน้ำในการทำการเกษตรใช้น้ำจากสระ/บ่อน้ำ ของตนเอง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร มีตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร คือ ประสบการณ์การทำเกษตร ที่มีผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) เกษตรกรมีปัญหาเรื่องดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แหล่งน้ำทางการเกษตรไม่เพียงพอ สำหรับข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการวางแผน/บริหารความเสี่ยงในการทำการเกษตร สนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร และสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาทำการเกษตร

References

ขวัญตา มูลชารี. 2562. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 85 หน้า.

ณัฐกฤตา ศรีสุยงค์. 2555. การทำเกษตรผสมผสานของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.9 หน้า.

นภาพร เวชกามา ธีระรัตน์ ชิณแสน และสำราญ พิมราช. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสานบ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. วารสารแก่เกษตร. 46ฉบับพิเศษ 1 : 2561.

ปิยะพร นิตย์สุวรรณ. 2562. แนวทางการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 132 หน้า

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. 2564. เกษตรกรรมยั่งยืน (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2700. (2 ธันวาคม 2564).

สำนักงานเกษตรอำเภอกบินทร์บุรี. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอกบินทร์บุรี 5 ปี (2561-2565 ฉบับทบทวน), ปราจีนบุรี.82 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2561. เกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. (2 ธันวาคม 2564).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2564. สถิติเกษตรและประมง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx. (2 ธันวาคม 2564).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ