ทางเลือกในการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกเพื่อควบคุมวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง

ผู้แต่ง

  • ปรวีร์ เปฏพันธุ์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จำเนียร ชมภู ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ทศพล พรพรหม ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

นาหว่านข้าวแห้ง, สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอก, สารกำจัดวัชพืชแบบผสม

บทคัดย่อ

การทำนาแบบหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยพบปัญหาการขึ้นแข่งขันของวัชพืชเป็นปัญหาสำคัญ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารกำจัดวัชพืชแบบพ่นหลังวัชพืชงอกชนิดและอัตราต่าง ๆ ต่อประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชและผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในแปลงทดสอบตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ทำการทดลองช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 12 สิ่งทดลอง ได้แก่ ไม่กำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชด้วยมือ การใช้สาร profoxydim อัตรา 11.25 และ 18.75 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ การใช้สาร saflufenacil อัตรา 7.00 และ 10.50 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ การใช้สารผสม profoxydim+saflufenacil อัตรา 18.75+7.00 และ 18.75+10.50 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ การใช้สาร metsulfuron/chlorimuron, 2,4- D sodium salt, bispyribac-sodium และ quinclorac อัตรา 1.80, 228, 7.50 และ 40.00 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า การใช้สารผสม profoxydim+saflufenacil อัตรา 18.75+7.0 และ 18.75+10.5 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชทั้งใบกว้าง (เซ่งใบมน และเทียนนา) ตระกูลหญ้า (หญ้าตีนนก) และกก (กกทราย และหนวดปลาดุกดอกรี) ได้ดีที่สุด และสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าการใช้สาร profoxydim และ saflufenacil เพียงชนิดเดียว โดยไม่มีความเป็นพิษและผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าว โดยที่ข้าวในแปลงที่มีการใช้สารผสมนี้อัตรา 18.75+7.0 และ 18.75+10.5 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ มีผลผลิตสูง เท่ากับ 417.50 และ 432.50  กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ไม่แตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับผลผลิตข้าวที่มีการกำจัดวัชพืชด้วยมือถอน (440 กิโลกรัมต่อไร่)

References

กนกอร บุญมี. 2563. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาพถ่ายดาวเทียม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา 4(1): 38-46.

กลุ่มวิจัยวัชพืช. 2554. คำแนะนำการจัดทำแผนและรายงานผลการทดลองประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2554. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพมหานคร. 97 หน้า.

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2555. สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย R. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 336 หน้า.

ปัญญา ร่มเย็น. 2548. การจัดการวัชพืชในนาหว่านข้าวแห้ง. ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 42 หน้า.

มานิตา คงชื่นสิน ชลิดา อุณหวุฒิ ศรุต สุทธิอารมณ์ ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ จีรนุช เอกอำนวย สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง รจนา ไวยเจริญ สัญญาณี ศรีคชา สุเทพ สหายา ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา และ พวงผกา อ่างมณี. 2553. คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ปี 2553. กรมวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา, กรุงเทพมหานคร. 297 หน้า.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ. 2564. ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปจังหวัดศรีสะเกษ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/sisaket-dwl-files-431991791853 (20 ธันวาคม 2565).

Andreasen, C. and J.C. Streibig. 2010. Evaluation of changes in weed flora in arable fields of Nordic countries-based on Danish long-term surveys. Weed Research 51(3): 214-226.

Awan, T.H., P.C. Sta Cruz and B.S. Chauhan. 2015. Agronomic indices, growth, yield-contributing traits, and yield of dry-seeded rice under varying herbicides. Field Crops Research 177: 15-25.

Beck, L., M. Marsalis, L. Lauriault and M. Serena. 2020. Efficacy of various herbicides for the control of perennial Plantago spp. and effects on alfalfa damage and yield. Agronomy 10: 1710, doi: 10.3390/agronomy10111710.

Busi, R. and H.J. Beckie. 2021. Are herbicide mixtures unaffected by resistance? A case study with Lolium rigidum. Weed Research 61(2): 92-99.

Camargo, E.R., S.A. Senseman, G.N. McCauley and J.B. Guice. 2012. Rice (Oryza sativa L.) response and weed control from tank-mix application of saflufenacil and imazethapyr. Crop Protection 31(1): 94-98.

Caverzan, A., C. Piasecki, G. Chavarria, C. Stewart and L. Vargas. 2019. Defenses against ROS in crops and weeds: the effects of interference and herbicides. International Journal of Molecular Sciences 20(5): 1086, doi: 10.3390/ijms20051086.

Chauhan, B.S. 2012. Weed ecology and weed management strategies for dry-seeded rice in Asia. Weed Technology 26: 1-13.

Danmaigoro, O., D.B. Ishaya and D.I. Adekpe. 2016. Post emergence herbicide efficiency and yield attributes of upland rice (Oryza sativa L.) as influenced by weed control treatments, poultry manure and stand density. Nigerian Journal of Agriculture, Food and Environment 12(3): 37-42.

Emmanuel, K., A.J. Aremu, A.O. Raphael, D.O. Samuel and B.G. Jacob. 2021. The effect of weed control timing on growth and yield upland rice (Oryza sativa L.). Journal of Agricultural Sciences Belgrade 66(1): 27-38.

Grossmann, K., R. Niggeweg, N. Christiansen, R. Looser and T. Ehrhardt. 2010. The herbicide saflufenacil (Kixor) is a new inhibitor of protoporphyrinogen IX oxidase activity. Weed Science 58(1): 1-9.

Jhala, A.J., A.H.M. Ramirez and M. Singh. 2013. Tank mixing saflunacil, glufosinate, and indaziflam improved burndown and residual weed control. Weed Technology 27(2): 422-429.

Kanatas, P. 2020. Susceptibility of Echinochloa crus-galli biotype from rice crop to profoxydim and impact of the weed growth stage. Agrivita Journal of Agricultural Science 42(10): 168-173.

Kaur, A. and N. Kaur. 2019. Effect of sub-lethal doses of 2,4-D sodium salt on physiology and seed production potential of wheat and associated dicotyledonous weeds. Indian Journal of Weed Science 51(4): 352-357.

Kaur, T., S. Kaur and M.S. Bhullar. 2017. Effectiveness of new herbicides in management of broadleaf weeds and sedges in transplanted rice. Agricultural Research Journal 54(3): 329-334.

Khaliq, A., A. Matloob, N. Ahmad, F. Rasul and I.U. Awan. 2012. Post emergence chemical weed control in direct seeded fine rice. Journal of Animal and Plant Sciences 22(4): 1101-1106.

Kolleh, D.S., K.P. Sibuga and C.F. Kinf. 2017. Upland rice growth and yield response to weed management practices under rainfed conditions in Morogoro, Tanzania. African Journal of Agricultural Research 12(10): 829-840.

Kolo, M.G.M. and I. Umaru. 2012. Weed competitiveness and yield of inter- and intra-specific upland rice (Oryza sativa L.) under different weed control practices at Badeggi, Niger State, Nigeria. African Journal of Agricultural Research 7(11): 1687-1693.

Moore, J. 2022. Guidelines for tank mixing. (Online): Available Source: https//www.agric.wa.gov. auchemicalsguidelines-tank-mixingnopaging=1 (December 10, 2022).

Pavithra, M., R. Poonguzhalan, A.L. Narayanan and S. Sundaravarathan. 2017. Bispyribac sodium-early post -emergance herbicide for weed control in aerobic rice (Oryza sativa L.). Agriculture Update 12(Techsear-1): 270-276.

Saldain, N.E., C. Marchesi and B. Sosa. 2020. Selectivity of profoxydim and metamifop on rice varieties at the eastern region of Uruguay. pp. 32-37. In the Proceeding of the 7th International Temperate Rice Conference. Pelotas, Brazil.

Suria, A.S.M.J., A.S. Juraimi, M.M. Rahman, A.B. Man and A. Selamat. 2011. Efficacy and economics of herbicides in aerobic rice system. African Journal Biotechnology 10(41): 8007-8022.

Umeda, K., S. Nair and M. Chamberland. 2021. Clear up the confusion: know how to select the appropriate herbicide to control weeds. The University of Arizona Cooperative Extension. (Online): Available Source: https://extension.arizona.edu/sites/extension.arizona.edu/files/pubs/az1914-2021.pdf (December 10, 2022).

Vasilakoglou, I., K. Dhima and T. Gitsopoulos. 2018. Management of penoxsulam-and bispyribac-resistant late watergrass (Echinochloa phyllopogon) biotypes and rice sedge (Cyperus difformis) in rice. Chilean Journal of Agricultural Research 78(2): 276-286.

Yawale, M.A., M.S. Garko, A.M. Sa‘ad and T.T. Bello. 2020. Effect of weed phytosociological characteristics on control practices in upland rice production under Sudan savanna of Nigeria. Islamic University Multidisciplinary Journal 7(2): 273-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ