ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย บุญกลาง วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน, ผู้ปลูกข้าวในอำเภอวังน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการปลูกและการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวของเกษตรกร 3) ความรู้และความคิดเห็นในเรื่องของการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ผ่านการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนทั้งสิ้น 250 ราย กำหนดขนาด       กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่มีความคลาดเคลื่อน 0.05 และใช้วิธีสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุ ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.90 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.03 คน  มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 17.10 ปี มีประสบการณ์ฝึกอบรมด้านการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเฉลี่ย 1.36 ครั้งต่อปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 234,522.58 บาทต่อปี ต้นทุนการทำนาเฉลี่ย 5,021.94 บาทต่อไร่  2) เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้พันธุ์ข้าว กข41 และไม่มีการปรับปรุงดินก่อนการทำนา (ร้อยละ 71.61) โดยเกษตรกรส่วนมาก (ร้อยละ 78.06) ใช้อัตราปุ๋ยที่ 25 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตข้าวอยู่ในระดับมาก และมีระดับความคิดเห็นต่อการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในภาพรวมเชิงบวก 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของเกษตรกร ในประเด็น ประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมด้านการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ระดับความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และระดับความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 5) เกษตรกรมีปัญหาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในประเด็นขาดความรู้เรื่องการตรวจวิเคราะห์ดินมากที่สุด ข้อเสนอแนะของเกษตรกรควรให้มีการบริการเก็บตัวอย่างดินแก่เกษตรกร

References

กรมการค้าต่างประเทศ. 2564. สถิติการส่งออกข้าวหอมมะลิไทย (รายประเทศ / เปรียบเทียบรายปี) เดือน สิงหาคม 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/Service-Data-Information/Statistic-Import-Export/Detail-dft-service-data-statistic/ArticleId/20545/20545. (25 มกราคม 2565)

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. คู่มือศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มส่งเสริมการจัดการดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร. 5 หน้า

วีร์สุดา ศรีจันทร์. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ (ปุ๋ยสั่งตัด) ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 10.

วสุกาญจน์ ปานขริบ. 2560. การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนในจังหวัดนครปฐม. หน้า 3803 – 3811. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

สุอาภา สกูลนิวัติ. 2560. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดเพื่อการปลูกข้าวของสมาชิกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนในจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี 124 หน้า

สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้อย. 2564. แผนพัฒนาเกษตรกรอำเภอวังน้อย ปี 2564. สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้อย, พระนครศรีอยุธยา. 65 หน้า.

Yamane, T.1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row. New York. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ