การรับรู้และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ศุภาพิชญ์ หมื่นละม้าย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
  • ดนชิดา วาทินพุฒิพร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พันจิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คนึงรัตน์ คำมณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความคาดหวัง, ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านเขากอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการรับรู้และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานบ้านเขากอบ กลุ่มตัวอย่างในงานศึกษานี้ดำเนินการสุ่มแบบลูกโซ่ จากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจระบบการเกษตรแบบผสมผสานจาก 10 อำเภอในจังหวัดตรัง จำนวนทั้งสิ้น 54 คน ในช่วงเดือนกันยายน 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.37) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 33 ปี จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.97) รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 12,500 บาท และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 75.93) สถานภาพส่วนใหญ่สมรส (ร้อยละ 75.93) และเดินทางท่องเที่ยวเป็นกลุ่มเล็ก/กับครอบครัว (2-5 คน) (ร้อยละ 81.49) การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานพบว่า ร้อยละ 74.07 เป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมาเยี่ยมชม ช่องทางที่นักท่องเที่ยวเห็นว่ามีความเหมาะสมในการสร้างการรับรู้คือ เฟซบุ๊ก (ร้อยละ 66.67) ความโดดเด่นของแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาเยี่ยมชมคือ ฐานเรียนรู้และองค์ความรู้ (ร้อยละ 59.26) ซึ่งฐานเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวประทับใจมากที่สุดคือ การเลี้ยงปลาในร่องสวนยางพารา (ร้อยละ 33.33) นักท่องเที่ยวโดยรวมรับรู้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.67)   กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ด้านภาพลักษณ์ของแหล่งเรียนรู้มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.80)  และมีความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.56 ) ในด้านภาพลักษณ์ของแหล่งเรียนรู้มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.77)

References

กวินธิดา ลอยมา. 2563. แนวทางการเสริมสร้างการรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเมืองรองของไทย กรณีศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยวและการบริการแบบบูรณาการ คณะการจัดการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ. 224 หน้า.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2564. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (2564-2565) .(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: https://chainat.mots.go.th/download/article/article_20210602104504.pdf. (12 มกราคม 2564)

ชลธิชา พันธ์สว่าง เสรี วงษ์มณฑา ชวลีย์ ณ ถลาง และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. 2563. การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย 25(3): 103-117.

มนทิรา สังข์ทอง ธนกฤต ยอดอุดม และวชิรวิทย์ บัวขาว. 2562. ศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 11(2): 178-188.

สำนักงานสถิติจังหวัดตรัง. 2564. ข้อมูลสถิติการท่องเที่ยว. .(ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://trang.nso.go.th/index. php?option= com_content&view=article&id=245:mindmap&catid=80:2011-10-11-07-20-43 . (17 มกราคม 2564)

Lin Z., I. A. Wong, I. E Kou, and X. Zhen. 2021. Inducing wellbeing through staycation programs in the midst of the COVID-19 crisis. Tourism Management Perspectives 40 (100907): 2-12.

Likert, R. 1961. New Patterns of Management. McGraw-Hill. New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ