ประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่ส่งเสริมการเจริญของพืชในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรครากเน่าในอ้อย
คำสำคัญ:
แบคทีเรียที่ส่งเสริมการเจริญของพืช, โรครากเน่า, อ้อยบทคัดย่อ
นำแบคทีเรียที่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (แบคทีเรียพีจีพีบี) จำนวน 14 ไอโซเลต ที่แยกได้จากดินบริเวณรากอ้อย จำนวน 10 ไอโซเลต และจากภายในลำอ้อย จำนวน 4 ไอโซเลต ประเมินความสามารถในการควบคุมเชื้อโรครากเน่าอ้อยในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพโรงเรือน ทำการคัดเลือกแบคทีเรียพีจีพีบี 14 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งเชื้อ Pythium sp. ไอโซเลต SD1/9-2 ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุโรครากเน่าของอ้อย โดยการทดสอบด้วยวิธี dual culture พบว่า มีแบคทีเรียพีจีพีบี 5 ไอโซเลต ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อ Pythium sp. ไอโซเลต SD1/9-2 ได้มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ จากผลการคัดเลือกบนอาหารเลี้ยงเชื้อจึงนำแบคทีเรียพีจีพีบี 5 ไอโซเลต ได้แก่ S65/4, 3/4, 30/1, 68/1 และ 100/3 มาประเมินประสิทธิภาพในสภาพโรงเรือนทดลอง โดยการใช้ค่าน้ำหนักรากสดและแห้งของพืชเป็นตัวชี้วัดการควบคุมโรครากเน่าอ้อยและเปรียบเทียบกับพืชในกรรมวิธีควบคุม พบว่า ไอโซเลต 3/4 ทำให้ค่าน้ำหนักรากสดและแห้งเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหลังการปลูกเชื้อ 30 วัน ในกรรมวิธีที่ราดไอโซเลต 3/4 ทำให้น้ำหนักรากแห้งเพิ่มขึ้นมากกว่ากรรมวิธีควบคุมที่ปลูกเชื้อ 38.3 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า แบคทีเรียพีจีพีบีไอโซเลต 3/4 มีศักยภาพที่อาจจะนำไปใช้ควบคุมโรครากเน่าของอ้อยแบบชีววิธีได้ในสภาพแปลง
References
ชลิดา เล็กสมบูรณ์ สุภาพร กลิ่นคง และเรวัต เลิศฤทัยโยธิน. 2560. รายงานโครงการวิจัย การคัดเลือกแบคทีเรียที่ครอบครองบริเวณรากและภายในอ้อยเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของอ้อย. เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ. 30 หน้า
นิพนธ์ ทวีชัย. 2539. งานวิจัยด้านการใช้แบคทีเรียบางชนิดควบคุมโรคพืชโดยวิธีชีวภาพในปัจจุบัน. แก่นเกษตร
(2): 53-62
ปัทมา เหรียญจื้อ ชลิดา เล็กสมบูรณ์ และเรวัต เลิศฤทัยโยธิน. 2558. การคัดเลือกไรโซแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อการควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าของอ้อย. น.31-36. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Bashan, Y., G. Holguin. 1998. Proposal for the division of plant growth-promoting rhizobacteria into two
classifications: Biocontrol-PGPB (plant growth-promoting bacteria) and PBPB. Soil Biol. Biochem.
: 1225-1228.
Beneduzi, A., A. Ambrosini and L.M.P. Passaglia. 2012. Plant growth-promoting rhizobacteria (PGPR): their potential as antagonists and biocontrol agents. Genetics and Molecular Biology 35(4): 1044-1051.
Compant, S., B. Duffy, J. Nowak, C. Clement and E.A. Barka. 2005. Use of plant growth-promoting bacteria for
biocontrol of plant diseases: principles, mechanisms of action, and future prospects. Appl. Environ.
Microbiol. 71: 4951-4959.
Elazzazy, A.M., O. A. Almaghrabi, T.A.A. Moussa and T.S. Abdelmoneim. 2012. Evaluation of some plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) to control Pythium aphanidermatum in cucumber plants.
Life Sci. J. 9(4): 3147-3153.
Nakade, D.B. 2013. Bacterial diversity in sugarcane (Saccharum officinarum) rhizosphere of saline soil.
Int. Res. J. of Bio. Sci. 2: 60-64.