การจัดการความรู้ท้องถิ่นขนมไทยและอาหารว่างจากข้าวในตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คำมณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สุเมธ ชัยไธสง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ขนมไทย, ข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขนมไทยและอาหารว่างจากข้าว ตำบลยี่ล้น  อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นขนมไทย ผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักด้านการทำขนมในตำบล รวมทั้งหมด 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ขนมไทยและอาหารว่างที่ใช้ข้าวหรือมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก มีจำนวน 25 รายการ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ขนมที่ทำจากข้าว ขนมที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก และขนมที่มีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้า กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นขนมไทยและอาหารว่างจากข้าว มี 7 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดความรู้ ตามหลักคิดของชาวบ้าน เน้นคติด้านวัฒนธรรมประเพณี 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ ด้วยวิธีการปฏิบัติจริง และการแสวงหาความรู้จากผู้รู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ไม่มีการบันทึกสูตรเป็นลายลักษณ์อักษร 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ยังขาดความชัดเจน 5) การเข้าถึงความรู้ ด้วยการสาธิตและการสืบทอดด้วยวาจา 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ผู้รู้ถ่ายทอดให้กับศิษย์ ส่วนครอบครัวถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่สู่ลูก และเครือญาติ 7) การเรียนรู้ การนำความรู้มาใช้ประโยชน์เกิดระบบการเรียนรู้สร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ นำไปสู่การปรับเทคนิคและพัฒนาสูตรขนม ดังนั้น ควรจัดการความรู้ให้เป็นระบบโดยการบันทึกความรู้ในรูปแบบต่างๆ และประมวลกลั่นกรองความรู้ให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง นำมาสู่การเผยแพร่และถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังผ่านตัวบุคคล และสู่ผู้บริโภค

References

ดวงฤทัย อรรคแสง. 2558. กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. http://www.brrd.in.th/rkb/Product

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. 2536. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากร. ทิศทางไทย 1 (5) : 1 – 10.

สุกัญญา ไหมเครือแก้ว พราวตา จันทโร สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ และภมรรัตน์ สุธรรม. 2560. ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 9 (4): 274 – 296.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. 2540. ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจารณ์ พานิช. 2547. ความรู้ยุคใหม่ อยู่ในคนมากกว่าตำรา. สานปฏิรูป, ธันวาคม 2547.

พนิดา พนิตธำรง และสุวรรณ สัตยานุกรม. 2559. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารไทยของจังหวัดจันทบุรี. วารสารรัชตภาคย์ 6 (2): 366 – 372.

ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร เอกอุรินทร์ ดวงทิพย์ ณิฌารี อิติอินทร์ มณฑน์กาญจน์ ปิ่นภู่ และวิไลพร วงษ์คินี. 2560. “ตำรับอาหารพื้นบ้านพะเยา: การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณค่าทางโภชนาการ”. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 9 (4): 297 – 313.

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. 2551. การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ไทยตำบลดอทคอม. มปป. ข้อมูลตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษไชยชาญ อ่างทอง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. http://www.thaitambon.com/tambon/150606

ณภัทร วิศวะกุล ฤตินันท์ สมุทร์ทัย เกียรติสุดา ศรีสุข และอัจฉรา สโรบล. 2562. “การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University 12 (2): 1323 – 1345.

Davenport, T.H. and Prusak, L. 1998. Working Knowledge: How Organizations Manage What They Know. Harvard Business School Press, Boston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ