ลักษณะการเจริญเติบโต ปริมาณโปรตีน เส้นใย และคลอโรฟิลล์ ในผักโขม 8 สายพันธุ์

ผู้แต่ง

  • ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • สมนึก พรมแดง ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ศิริพรรณ สุขขัง ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

ผักโขม, การเจริญเติบโต, โปรตีน, เส้นใย, คลอโรฟิลล์

บทคัดย่อ

ผักโขม (amaranth) เป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย และมักนำใบและยอดอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการปลูกผักโขมในระบบกระถางซึ่งมีข้อดี คือ เหมาะสำหรับคนที่อาศัยในพื้นที่จำกัดเนื่องจากใช้พื้นที่น้อย ยังมีการศึกษาไม่มากนัก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์ผักโขมที่มีศักยภาพจาก 8 สายพันธุ์ สำหรับการส่งเสริมให้ประชาชนนำไปใช้เพื่อการบริโภค ได้แก่ ผักโขมจีนใบแดง ผักโขมจีนใบเขียว ผักโขมจีนใบเขียวต้นขาว ผักโขมจีนใบเขียวปื้นแดง ผักโขมวัชพืช ผักโขมไทย ผักโขมใบเขียวอ่อน และผักโขมใบเขียวต้นแดง ซึ่งทำการศึกษาลักษณะการเจริญเติบโต ปริมาณโปรตีน เส้นใย คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี โดยกำหนดการเก็บเกี่ยวที่ 20 วัน (ระยะสร้างลำต้นและใบ; vegetative stage) และ 40 วัน (ระยะออกดอก; reproductive stage) หลังย้ายกล้า ผลการศึกษาพบว่า ผักโขมจีนใบเขียวปื้นแดง (TA 026) และผักโขมไทย (AS 129) มีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ ในขณะที่ผักโขมจีนใบแดงและผักโขมจีนใบเขียว (TA 024) มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างต่ำ ส่วนคุณค่าทางโภชนาการนั้น พบว่า ที่ระยะการเก็บเกี่ยว 20 วัน ผักโขมวัชพืช (SR 01-0835) มีปริมาณโปรตีน เส้นใย คลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บี สูงที่สุด รองลงมา คือ ผักโขมไทย (AS 129) ส่วนที่ระยะการเก็บเกี่ยว 40 วัน ผักโขมไทย (AS 129)  ยังคงมีปริมาณโปรตีน คลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บี สูงที่สุด ในขณะที่ผักโขมวัชพืช (SR 01-0835) และผักโขมจีนใบเขียวปื้นแดง (TA 026) มีปริมาณเส้นใยสูงสุด จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าผักโขมทุกสายพันธุ์มีแนวโน้มของอัตราการเจริญเติบโต และคุณค่าทางโภชนาการลดลงเมื่อเข้าถึงระยะออกดอก จากผลการศึกษา พบว่า ผักโขมไทย (AS 129) เป็นผักโขมที่มีลักษณะเด่นที่สุดทั้งในแง่ของการเจริญเติบโตและคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นจึงเป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดในการนำไปส่งเสริมให้ประชาชนนำไปปลูกในกระถางไว้สำหรับการบริโภคภายในครัวเรือน

References

สมชาย ชคตระการ. 2541. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักโขมพันธุ์ผักในดินผสมปุ๋ย

อินทรีย์ชนิดต่างๆ. ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพฯ.

Alsuhaibani, M.M., M.N. ALkehayez, H.A. Alshawi and A.N. Al-Faris. 2017. Effects of chlorophyll on body

functioning and blood glucose levels. Asian J. Clinic. Nutri. 9(2): 64-70.

Bradford, M.M. 1976. A rapid and sensitive method for the quantitation of microgram quantities of protein

utilizing the principle of protein-dry binding. Anal.Biochem. 72: 248-254.

Das S. 2016. Amaranthus: A Promising Crop of Future. Springer, Singapore

Jubert, C., J. Mata, G. Bench, R. Dashwood, C. Pereira, W. Tracewell, K. Turteltaub, D. Williams, and

G. Bailey. 2009. Effects of chlorophyll and chlorophyllin on low-dose aflatoxin B1 pharmacokinetics in human volunteers. Cancer Prev Res (Phila). 2(12): 1015–1022. doi: 10.1158/1940-6207.CAPR-09-0099

Grubben, G.J.H., 1993. Amaranthus L, pp. 82–86. In: Siemonsma, J.S. & Kasem Piluek (Editors). Plant

Resources of South-East Asia No 8. Vegetables. Pudoc Scientific Publishers, Wageningen, Netherlands.

Li, X. and K.H.M. Siddique. 2018. Future Smart Food-Rediscovering Hidden Treasures of Neglected and

Underutilized Species for Zero Hunger in Asia, Bangkok, FAO, 242 pp.

Vanková, K., I. Marková, J. Jašprová, A. Dvorák, I. Subhanová, J. Zelenka, I. Novosádová, J. Rasl, T. Vomastek,

R. Sobotka, L. Muchová and L. Vítek. 2018. Chlorophyll-mediated changes in the redox status of pancreatic cancer cells are associated with its anticancer effects. Oxid. Med. Cell. Longev. 4069167, doi.org/10.1155/2018/4069167

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ