สถานภาพและแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • คนึงรัตน์ คํามณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็ง, วิสาหกิจชุมชน, ตำบลหนองโรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สภาพปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การสำรวจ การสนทนากลุ่ม และการอภิปรายกลุ่ม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้นำหรือตัวแทนวิสาหกิจชุมชน จำนวน 18 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลหนองโรงมี 3 รูปแบบ คือ 1) มีการรวมกลุ่มเดิมอยู่แล้ว หรือเป็นการรวมกลุ่มจากการประกอบอาชีพภายในครอบครัว 2) การรวมกลุ่มจากนโยบายการสนับจากภาครัฐ และ 3) การรวมกลุ่มจากผู้นำที่ต้องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชุมชน ส่วนปัญหาที่พบในการพัฒนาความเข้มแข็งในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย การขาดการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและบริหารจัดการกลุ่มที่เป็นระบบ การขาดทักษะในการผลิตและการพัฒนาการรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน การขาดทักษะการบริหารจัดการทางด้านการตลาด และการขาดการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) สมาชิกควรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มร่วมกัน 2) การพัฒนาสินค้าให้มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น 3) การใช้แนวทางตลาดนำการผลิตในการดำเนินงานกลุ่ม และ 4) การพัฒนาระบบบัญชีและการเงินให้ถูกต้อง สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ 1) ภาครัฐควรมีนโยบายการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามการดำเนินกิจการของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 2) ภาครัฐควรทำการประเมินสถานภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกปี และช่วยเหลือปรับปรุงการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประสบปัญหา 3) เจ้าหน้าที่ควรดำเนินการส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ่านผู้นำกลุ่มโดยการสร้างเครือข่าย และ 4) เจ้าหน้าที่ควรหาวิธีการที่เหมาะสมในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีให้กับสมาชิกกลุ่ม

References

กันยารัตน์ เพ็งพอรู้. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตร). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 193 หน้า.

จิรพร มหาอินทร์, อรุณี พึงวัฒนานุกูล, ฐิตินันท์ พงษ์คะเชนทร์ และขวัญฤทัย วงศ์คําแหงหาญ. 2554. การดําเนินงานและการส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดปทุมธานี. รายงานการวิจัย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 57 หน้า.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. 2556. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. รายงานการวิจัย. ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 66 หน้า.

ดวงเดือน เภตรา. 2561. การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มอาชีพทอเสื่อกก บ้านเหล่าไพรงาม ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 38 (1): 21-34.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. 2562. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 10 (1): 95-120.

บุญฑวรรณ วิงวอน, อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก และอัจฉรา เมฆสุวรรณ. 2557. แนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการวิสาหกิจขนาดย่อม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 9 (1): 102-119.

ภูตรา อาแล, วัชระ ขาวสังข์, ฟาริดา เอ็ลลาฮี, ศุภมาส รัตนพิพัฒน์, มูฮัมมัดฮุสนี เบญจสม, เบญญาดา เหล่าธนถาวร และมูฮาหมัดตามีซี จะลาแป. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธ์ จังหวัดปัตตานี. หน้า 39-45. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6.วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php (10 พฤศจิกายน 2564).

รัชนี รูปหล่อ, ดุษฎี พรหมทัต และ วัลภา ว่องวิวิธกุล. 2556. แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. 158-170.

ราชกิจจานุเบกษา. 2561. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 8.

วรรณดี สุทธินรากร, จินตนา กาญจนวิสุทธิ์, ศิริพร ตันจอ และสมเกียรติ สุทธินรากร. 2558. การบริหารจัดการที่ดีและเส้นทางสู่การเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถในอาชีพและการมีชีวิตที่ดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 14 (1): 25-32.

สนิทเดช จินตนา และธีระพงษ์ ภูริปาณิก. 2562. ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 12 (3) : 179-194.

สหัสา พลนิล และพยอม วงศ์สารศร. 2554. แนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ความยั่งยืน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 7 (2): 39-52.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). 2563. หนองโรง: วิถีชีวิต วิถีชุมชน วิถีคนหนองโรง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://web.codi.or.th/20200203-10617/ (1 กันยายน 2565).

เสรี พงศ์พิศ. 2548. ฐานคิด จากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. เจริญวิทย์การพิมพ์, กรุงเทพมหานคร. 144 หน้า

เสรี พงศ์พิศ. 2550. แผนชีวิต เศรษฐกิจชุมชน. เจริญวิทย์การพิมพ์, กรุงเทพมหานคร. 157 หน้า.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโรง. 2559. แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561 -2564). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.nhongrong.go.th/home (10 พฤศจิกายน 2564).

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. 2561. การจัดการชุมชน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. 398 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ