การจัดการปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับสารปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตผักบุ้งจีนในชุดดินปากช่อง

ผู้แต่ง

  • ธรรมธวัช แสงงาม ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ศิริสุดา บุตรเพชร ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • อาณัติ เฮงเจริญ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน

คำสำคัญ:

ผักบุ้งจีน, ปุ๋ยเคมี, สารปรับปรุงดิน, ชุดดินปากช่อง

บทคัดย่อ

จากการศึกษาการจัดการปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับสารปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตผักบุ้งจีนในชุดดินปากช่อง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Design, RCBD)  จำนวน 3 ซ้ำ 11 ตำรับการทดลอง พบว่าน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และผลผลิต ของผักบุ้งจีนที่ระยะเก็บเกี่ยว (28 วัน) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยผักบุ้งจีนที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี ½ ของคำแนะนำจากค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับสารปรับปรุงดิน 75 กก./ไร่ (T11)  ส่งผลให้น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และผลผลิตมากที่สุด แต่กลับพบว่าตำรับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับสารปรับปรุงดินอัตรา 75 กก./ไร่ (T8) ทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินสูงที่สุด ในขณะที่ความจุสนาม จุดเหี่ยวถาวร และความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ จากการทดลองมีความเป็นไปได้ที่การใช้ปุ๋ยเคมี ½ ของค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับสารปรับปรุงดินอัตรา 75 กก./ไร่ (T11) สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี และเพิ่มผลผลิตของผักบุ้งจีนมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว

References

กรมวิชาการเกษตร. 2548. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการลำดับที่ 8/2548. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา และภัสรา ชวประดิษฐ์. 2539. ผักบุ้งจีน. กองส่งเสริมพืชสวน. กรมส่งเสริมการเกษตร. 18 น.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธงชัย มาลา. 2558. คัมภีร์ดินและปุ๋ยไทย. สมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย. กรุงเทพฯ. 444 น.

นวรัตน์ อุดมประเสริฐ. 2541. สรีรวิทยาของการผลิตพืช. เอกสารประกอบการสอนวิชา 003451 สรีรวิทยาของการผลิตพืช.

ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม. 210 น.

ปิยะ ดวงพัตรา. 2553. สารปรับปรุงดิน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 256 น.

เมืองทอง ทวนทวีและ สุรีรัตน์ ปัญญาโตน. 2532. สวนผัก. พิมพ์ครั้งที่2. กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ. 324 น.

ยุวดี จอมพิทักษ์. 2541. เบต้าแคโรทีน : เสริมความสมบูรณ์แข็งแรงแห่งสรีระสารอาหารที่มีเกราะป้องกัน มะเร็ง, กรุงเทพฯ. 262 น.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 519 น.

สุเทวี ศุขปราการ และพวงทอง ยินอัศวพรรณ. 2536. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก. กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/statistic/import/imFTZ.xls. (12 กุมภาพันธ์ 2561)

สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน. 2562. ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/northeast/Pc.htm. (8 พฤศจิกายน 2562)

อรุชา มณฑปใหญ่ และนภาพร พันธุกมลศิลป์. 2554. ผลของการใช้สารปรับปรุงดินต่อสมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมีบางประการของดิน. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน. 8-9 ธันวาคม 2554. หน้า 38-45.

อุดม โกสัยสุก. 2540. การปลูกผักกินหัวและกินดอก. โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์. กรุงเทพฯ. 38 น.

อรประภา อนุกูลประเสริฐ. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยเคมี และการใช้ร่วมกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักบุ้งจีน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 23(6): 970-982.

อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง. 2551. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. หน่วยพิมพ์และผลิตเอกสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 253 น.

อำนวย อรรถลังรอง และลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์. 2558. การปลูกผักบุ้งจีน. สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร.

Blake, G.R. and K.H. Hartge. 1986. Bulk density, pp. 363-382. In A. Klute, ed. Method of Soil Analysis. Part 1: Physical and Mineralogical Methods. 2 nd edition. Amer. Soc. of Agron. Inc. Madison, Wisconsin, USA.

Bray, R.H. and N. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 59: 39-45.

Bremner, J.M. 1996. Nitrogen-total, pp. 1085-1121. In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. American Society of Agronomy, Inc. Madison, Wisconsin.

Horwitz, W. and W.L.George. Jr. 2010. Fertilizer. pp. 1-44. In Official Methods of Analysis of AOAC International. 18th Edition, Revision 3, Association of Official Analytical Chemists. Washington DC.

Huntington, T.G. 2006. Available water capacity and soil organic matter. In Encyclopedia of Soil Science, Second Edition. Taylor and Francis: New York. Published online: 12 Dec 2007: 139-143.

Pratt, P.F. 1965. Potassium, pp. 1022-1030. In C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis. Part II. American Society of Agronomy, Inc. Madison, Wisconsin.

Rhoades, J.D. 1982. Cation exchange capacity. pp.149-157. In A.L., R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.) Method of Soil Analysis Part II. American Society of Agronomy. Inc. Publisher Madison, Wisconsin. USA.

Sparks, D.L., A.L. Page, P.A. Helmke, R.H. Loeppert, P.N. Soluanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner. 1996. Method of Soil Analysis Part III Chemical Method. American Society of Agronomy Inc. Madison, Wisconsin.

Walkley, A and I.A. Black. 1934. An examination of the Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Sci. 37: 29-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ