การทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว

ผู้แต่ง

  • ฐิตินันท์ วงค์ภักดิ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อมรศรี ขุนอินทร์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วรรณวิไล อินทนู ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

โรคใบจุดสีน้ำตาล, จุลินทรีย์ปฏิปักษ์, การควบคุมโรคโดยชีววิธี

บทคัดย่อ

การทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Bipolaris oryzae สาเหตุของโรคใบจุดสีน้ำตาลในสภาพห้องปฏิบัติการด้วยวิธี dual culture พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ระหว่าง 34.96-57.64% โดยยีสต์ Torulaspora indica DMKU-RP31 และแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens สามารถยับยั้งการเจริญของ B. oryzae ได้มากที่สุด รองลงมาคือเชื้อรา Trichoderma asperellum (CB-Pin-01) โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรค 57.64, 57.63 และ 54.86 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบจุดสีน้ำตาลในสภาพโรงเรือนปลูกพืชทดลองโดยแช่เมล็ดข้าวในเซลล์หรือสปอร์แขวนลอยของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และพ่นต้นข้าว 3 ครั้ง เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมและการใช้สารเคมี (carbendazim) ผลการวิจัยพบว่าเมื่อข้าวอายุ 65 วัน กรรมวิธีที่ใช้แบคทีเรีย B. amyloliquefaciens, ยีสต์ T. indica DMKU-RP31 และเชื้อรา T. asperellum (CB-Pin-01) สามารถลดการเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลได้ โดยกรรมวิธีที่ใช้แบคทีเรีย B. amyloliquefaciens ช่วยลดการเกิดโรคได้มากที่สุดถึง 54.17 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม

References

กนกวรรณ วัฒนากร และ พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. 2558. ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและระดับการเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าวเจ้าหอมนิล. หน้า621-629. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

จินตนา อันอาตม์งาม. 2562. เทคนิควิจัยเชื้อราสาเหตุโรคพืช. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 166 หน้า.

จิระเดช แจ่มสว่าง, วรรณวิไล อินทนู และ บังอร น้อยใสย์. 2560. ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus siamensis RRK1-Rif ในการลดการเกิดโรคกาบใบแห้ง และลดโรคเมล็ดด่างของข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(1): 1-14.

ชนสิริน กลิ่นมณี และ เสาวนีย์ ศรีบัว. 2561. การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุดสีน้ำตาลข้าว. หน้า 132-140. ใน:เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 35. โรงแรมแซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท. จันทบุรี.

ดารา เจตนะจิตร, นงรัตน์ นิลพานิชย์, พากเพียร อรัญนารถ, วิชิต ศิริสันธนะ, วิชชุดา รัตนากาญจน์, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, วันชัย โรจนหัสดิน และ ธัญลักษณ์ อารยาพันธ์. 2550. โรคข้าวและการป้องกันกำจัด. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. กรุงเทพฯ. 68 หน้า.

บรรเจิด อินหว่าง และจิระเดช แจ่มสว่าง. 2529. การควบคุมโรคโคนเน่าของมะเขือเทศ (Rhizoctonia solani Kuehn) โดยจุลินทรีย์จากดินเกษตรกรรม. หน้า 173-185. ใน: การประชุมวิชาการสาขาพืช ครั้งที่ 24. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์, ธิดา เดชฮวบ และวาริน อินทนา. 2560. การประยุกต์ใช้ร่วมกันของผงเชื้อ Trichoderma sp. และ Bacillus sp. ต่อการควบคุมโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก Bipolaris oryzae ในข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(1): 15-26.

พราวมาส เจริญรักษ์. 2558. ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma asperellum ในการลดโรคเมล็ดด่าง ส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตของข้าว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม. 194 หน้า.

รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, วันพร เข็มมุกด์, วิชชุดา รัตนากาญจน์ และ นิพนธ์ บุญมี. 2554. ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารจากพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว. หน้า 242-247. ใน: สัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง. ม.ป.ท. กรมการข้าว สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2565ก. สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. ผลพยากรณ์การผลิตข้าวปี2560-2565 (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.thairiceexporters.or.th/production.htm (24 มีนาคม 2566).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2565ข. สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. สรุปข่าวประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 25-31 มกราคม 2566 (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.thairiceexporters.or.th/mk_rpt/2023/news_1FEB2023CFUQz.pdf (24 มีนาคม 2566).

Abdel-Fattah, G.M., Y.M. Shabana, A.E. Ismail and Y.M. Rasha. 2007. Trichoderma harzianum: a biocontrol agent against Bipolaris oryzae. Mycopathologia 164(2): 81-89.

Ahmad, F., I. Ahmad and M.S. Khan. 2008. Screening of free-living rhizospheric bacteria for their multiple plant growth promoting activities. Microbiological Research 183: 173-181.

Benitez, T., A. Rincón, M. Limón and A. Codón. 2004. Biocontrol mechanisms of Trichoderma strains. International Microbiolology 7: 249-260.

Into, P., P. Khunnamwong, S. Jindamoragot, S. Am-in, W. Intanoo and S. Limtong. 2020. Yeast associated with rice phylloplane and their contribution to control of rice sheath blight disease. Microorganisms 8(3):362, doi:10.3390/microorganisms8030362

Khalili, E., M. Sadravi, S. Naeimi and V.Khosravi. 2012. Biological control of rice brown spot with native isolates of three Trichoderma species. Brazil Journal Microbiology 43: 297-305.

Limtong, S., P. Into and P. Attarat. 2020. Biocontrol of rice seedling rot disease caused by Curvularia lunata and Helminthosporium oryzae by epiphytic yeasts from plant leaves. Microorganisms 8(5):647, doi.org/10.3390/microorganisms8050647

Manamgoda, D.S., A.Y. Rossman, L.A. Castlebury, P.W. Crous, H. Madarid, E. Chukeatirote and K.D. Hyde. 2014. The genus Bipolaris. Studies of Mycology 79: 221-288.

Nagy, A., L. Manczinger, D. Tombácz, L. Hatvani, J. GyÖrfi, Z. Antal, E. Sajben, C. VágvÖlgyi and L. Kredics. 2012. Biological control of oyster mushroom green mold disease by antagonistic Bacillus species. Biological Control of fungal and Bacterial Plant Pathogens IOBC-WPRS Bulletin 78: 289-293.

Nazari, S., M. Javan-nikkhah, K.B. Fotouhifar, V. Khosravi and A. Alizadeh. 2015. Bipolaris species associated with rice plant: pathogenicity and genetic diversity of Bipolaris oryzae using rep-PCR in Mazandaran province of Iran. Journal of Crop Protection 4(4): 497-508.

Ou, S.H. 1985. Rice Disease. Commonwealth Mycological Institute. Ferry Lane, UK. 380 pp.

Tojo, S., Y. Tanaka and K. Ochi. 2015. Activation of antibiotic production in Bacillus spp. by cumulative drug resistance mutations. American Society for Microbiology Journal 59(12): 7799-7804.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ