การเพิ่มมูลค่าของไข่เปลือกสกปรกด้วยเครื่องล้างไข่อัตโนมัติ
คำสำคัญ:
ไข่ไก่, การล้างไข่, ไข่เปลือกสกปรก, ATP Bioluminescenceบทคัดย่อ
การทำความสะอาดไข่ไก่ที่เปลือกสกปรกจะช่วยลดปริมาณสิ่งสกปรกและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดมากับเปลือกไข่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการล้างและฆ่าเชื้อของไข่เปลือกสกปรกแต่ละระดับด้วยเครื่องล้างแบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มมูลค่าไข่เปลือกสกปรก โดยแยกระดับสกปรกออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ (Low; L) ปานกลาง (Moderate; M) และระดับสูง (High; H) ตามพื้นที่สกปรกบนผิวเปลือกไข่ อ้างอิงตามเกณฑ์พินิจที่ปรับปรุงจาก United States Department of Agriculture (USDA) ปี 2000 จากนั้นนำไข่มาล้างด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติ และนำไปวิเคราะห์หาปริมาณ Total ATP โดยเทคนิค ATP Bioluminescence ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (Total Viable Count; TVC) และการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella spp. ทั้งก่อนและหลังผ่านเครื่องล้างอัตโนมัติ รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปริมาณ Total ATP กับ TVC ผลการศึกษาพบว่า ก่อนล้าง ไข่กลุ่ม L มีค่า Total ATP และ TVC ที่ 306.0 RLU (Relative Light Unit) และ 3.04 log10 CFU/cm2, กลุ่ม M มีค่า 520.9 RLU และ 3.42 log10 CFU/cm2 และกลุ่ม H มีค่า 721.3 RLU และ 3.21 log10 CFU/cm2 ตามลำดับ โดยค่า Total ATP แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนค่า TVC ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) เมื่อผ่านการล้างแล้ว Total ATP และ TVC ของไข่กลุ่ม L M และ H มีค่าเท่ากับ 132.3 RLU และ 1.69 log10 CFU/cm2, 83.8 RLU และ 1.81 log10 CFU/cm2 และ 210.1 RLU และ 1.74 log10 CFU/cm2 ตามลำดับ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ระหว่างกลุ่มก่อนล้างและกลุ่มหลังล้าง และยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างค่า Total ATP และ TVC เมื่อค่า Total ATP สูง ค่า TVC จะสูงด้วยทั้งในกลุ่มก่อนล้าง (R2=0.9422) และหลังล้าง (R2=0.772) ผลการตรวจหาเชื้อ Salmonella spp. ไม่พบเชื้อทั้งก่อนและหลังล้างไข่ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงระดับชั้นคุณภาพของไข่หลังล้าง พบว่าการล้างทำให้ความสะอาดผิวเปลือกไข่ดีขึ้น ระหว่าง 62.7% ถึง 100% โดยเฉพาะไข่ที่อยู่ในกลุ่ม H ซึ่งเป็นไข่ที่ปนเปื้อนระดับสูงและมีโอกาสถูกคัดทิ้งมากที่สุดปรับระดับดีขึ้นถึง 82.8% และการศึกษาในครั้งนี้พบว่า วิธีวัดปริมาณ Total ATP สามารถใช้แทนการเพาะเชื้อและการตรวจพินิจด้วยสายตาที่ทำอยู่ในปัจจุบันได้
References
กานดา ล้อแก้วมณี. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพไข่. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปีที่ 60.
ฉบับที่ 2. ตุลาคม 2557-ตุลาคม 2558.
ณัฐา จริยภมรกุร, วิชัย สุทธิธรรม และ ดรุณี ศรีชนะ. 2558. การสำรวจแบคทีเรียก่อโรคซึ่งปนเปื้อนในไข่ที่วาง
จำหน่ายในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Science and Technology.4(1):1-11.
มกอช. 2553. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ไข่ไก่. มกษ.6702-2553. สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
แห่งชาติ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์, ฆรณี ตุ้ยเต็มวงศ์ และ จิรวัฒน์ กันต์เกรียงวงศ์. 2541. การพัฒนาใช้ ATP
Bioluminescence ในการควบคุมสุขาภิบาลโรงงานชำแหละไก่. การประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ครั้งที่ 36: บทคัดย่อ 3-5 กุมภาพันธ์ 2541).
http://kukr.lib.ku.ac.th/db/BKN/search detail/result/6691(10 มกราคม 2561)
อิสรี สายรวมญาติ. 2555. คุณภาพและความปลอดภัยของไข่ไก่เพื่อการบริโภค: การสำรวจตั้งแต่ฟาร์มถึงแหล่งจำหน่าย, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 99 น.
European Food Safety Authority. 2005. Opinion of the scientific panel on biological hazards on the request from the commission related to the microbiological risks on washing of table eggs. EFSA J.269:39.
Hutchison, M. L., J. Gittins, A. W. Sparks, T. J. Humphrey, C. Burton and A. Moore. 2004. An assessment of the microbiological risks involved with egg washing under commercial conditions. J. Food Prot. 67:4–11.
Jacqueline P. J. R. D. Miles and F. B. Mather. 2009. Egg Shell Quality. Available Source: https://ufdc.ufl.edu/IR00004262/00001.,December 10,2018.
Messens, W., J. Gittins, S. Leleu and N. Sparks. 2011. Egg decontamination by egg washing, pp. 163-180. In Y. Nys, M. Bain and F. Van Immerseel, eds. Improving the Safety and Quality of Eggs and Egg Products. Woodhead Publishing Limited, Cambridge, UK.
Snedecor. G. W. and W. G. Cochran. 1980. Statistical Methods. Seventh Edition. Ames: Iowa State University Press.
United States Department of Agriculture (USDA). Egg grading manual. Agricultural Handbook N.75,
https://www.ams.usda.gov/sites/default/files/media/Egg Grading Manual (Feb 20,2018)