การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและปริมาณแคลเซียมของนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ที่ผ่าน การให้ความร้อนที่แตกต่างกัน

ผู้แต่ง

  • รัตนากร แสนทำพล ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ศศิธร นาคทอง ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและปริมาณแคลเซียมของนมแพะดิบและนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ตามวิธีการของเกษตรกร 4 วิธี โดยเก็บตัวอย่างนมแพะดิบและนมแพะพาสเจอร์ไรซ์จากฟาร์มของเกษตรกรที่ทำการพาสเจอร์ไรซ์นมแพะด้วยวิธีการต่างๆ กันจำนวน 4 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100ºC เป็นเวลา 10 วินาที วิธีที่ 2 ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 72ºC เป็นเวลา 15 นาที วิธีที่ 3 ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 85ºC เป็นเวลา 5 นาที และ วิธีที่ 4 ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 80ºC  เป็นเวลา 10 วินาที เก็บข้อมูลเป็นเวลา 3 เดือน เดือนละ 2 ครั้ง รวม 6 ครั้ง ใช้วิธี ลิสท์-สแควรส์ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปริมาณไขมัน โปรตีน น้ำตาลแลคโตส  ของแข็งไม่รวมไขมัน และของแข็งทั้งหมด ของนมแพะดิบและนมแพะพาสเจอร์ไรซ์  ทั้ง 4 วิธี มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.05)  โดยวิธีที่ 1 มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียองค์ประกอบของนมแพะมากที่สุด ส่วนปริมาณแคลเซียมในนมแพะดิบและนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ พบว่าวิธีที่ 1 มีปริมาณแคลเซียมสูงที่สุด และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียปริมาณแคลเซียมสูงที่สุด เท่ากับ 17.35  เนื่องจากอิทธิพลของความร้อนที่มีต่อองค์ประกอบและคุณภาพของน้ำนม จึงทำให้นมแพะมีคุณภาพลดลง

References

ประกาย จิตรกร. 2526. นมและผลิตภัณฑ์นม. สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ 453 น.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. 2556. เรื่องผลิตภัณฑ์ของนม. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 87 ง. 24 กรกฎาคม 2556.

สมชัย สวาสดิพันธ์ และณิชารัตน์ สวาสดิพันธ์ . 2547. เกษตรกรรมธรรมชาติ: ประสบการณ์การดื่มนมแพะ. ฉบับที่ 7/2547.

สมใจ ศรีละออกุล. 2549. เทคโนโลยีน้ำนมและผลิตภัณฑ์. คณะเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัย ราชภัฎจันทรเกษม. 108 น.

AOAC. 2005. Analyzed for calcium in milk. J. AOAC Int. 88, 1797–1810.

Anthony, L., W. F. Collins and H. L. Williams. 1985. Essential elements cadmium and lead in raw and pasteurized cow and goat milk. J. Dairy Sci. 68:1878-1886.

Baker, J. M., C. W. Gehrke and H. E. Affsprung. 1954. A study of the effect of heat upon ionic availability in milk. J. Dairy Sci. 37: 643p.

Early, R. 1998. The Technology of Dairy Productions. Second Edition. Blackie Academic & Professional, Italy. 82 p.

Fox. K. K., M. K. Harper, V. H. Holsinger, and M. J. Pallansch. 1966. Effects of high-heat treatment on stability of calcium caseinate aggregates in milk. J. Dairy Sci. 50, 443-450p.

Harding. F. 1995. Milk Quality. Chapman & Hall, London. 114 p.

Harvey, W. R. 1975. Least Square Analysis of Data with Unequal Subclass Numbers. Publication ARS H-4. USDA. Agricutural Research Service. 157 p.

Park, Y.W., M. Juarez, M. Ramos and G.F.W. Haenlein. 2007. Physico-chemical characteristics of goat and sheep milk. Small Rumin Res. 68: 88-113.

Raynal-Ljutovac, K., Y.W. Park, F. Gaucheron and S. Bouhallab. 2007. Heat stability and enzymatic

modifications of goat and sheep milks. J. Small Ruminant Res, 68:207-220.

Walstra P., T.J.Geurts, A., Noomen,A.Jellema and M.A.J.S. van Boekel. 1999. Dairy Technology. Principles of Milk Properties and Processes. Marcel Dekker, Inc, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ