ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในสวนลำไยของเกษตรกรตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • อรจิรา คำจ้อย วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความต้องการ , การส่งเสริม, การเลี้ยงผึ้งพันธุ์, เกษตรกรผู้ปลูกลำไย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ 2) ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยในตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565/66 จำนวน 250 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 154 ราย และรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และการจัดลำดับ ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งพันธุ์มากที่สุดในด้านความสำคัญ และประโยชน์ของการเลี้ยงผึ้ง 2) ความต้องการด้านเนื้อหาในการส่งเสริมมีมากที่สุดในด้านจัดการดูแลผึ้งพันธุ์ (ค่าเฉลี่ย 4.19) เกณฑ์กำหนดและวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มผึ้ง (ค่าเฉลี่ย 4.03) และการใช้ประโยชน์จากผลผลิตของผึ้ง (ค่าเฉลี่ย 4.01) ตามลำดับ โดยเกษตรกรมีความต้องการวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63) 3) ปัญหาในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ เกษตรกรมีปัญหาด้านเงินทุนมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะระดับมากที่สุดในด้านปัจจัยการผลิต และการจัดการดูแลรักษา (ค่าเฉลี่ย 4.24) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการถ่ายทอดความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร รวมถึงมีศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ให้ศึกษา เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ และเพิ่มผลผลิตลำไยของตนเองต่อไป

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. การผลิตน้ำผึ้งคุณภาพ. เอกสารวิชาการ. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 164 หน้า.

ไทยรัฐออนไลน์. 2565. ลำไยราคาร่วงรายวัน ชาวสวน จ.น่าน ตัดต้นเผาถ่านขาย จ่ายค่าแรงคนเก็บ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.thairath.co.th/news/local/north/2456652 (30 พฤศจิกายน 2565)

บุหงา จินดาวานิชสกุล. 2561. แนวทางการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ในการผลิตลำไยนอกฤดูจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 118 หน้า

พัชรา แสนสุข, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, จินดา ขลิบทอง และพาวิน มะโนชัย. 2564. โมเดลการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตลำไยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6(5): 95-110.

เมวิกา นางแล. 2561. การส่งเสริมการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 109 หน้า

ยมนา ปานันท์. 2566. บทความคาดการณ์การผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย (ลำไยภาคเหนือ ปี 2565). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://maejopoll.mju.ac.th/article.aspx?id=4217 (19 เมษายน 2566)

รุ่งอรุณ อ้นสุดใจ, เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ และจินดา ขลิบทอง. 2561. การส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี. หน้า 1829-1842. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่. 2565. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.aopdb04.doae.go.th/beefarm.htm (10 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ลำไย เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล ระดับประเทศ ภาค และจังหวัด ปี 2565. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/longan%20holdland%2065.pdf (30 เมษายน 2566)

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. เทคโนโลยีการผสมเกสรเพิ่มผลผลิตลำไยด้วยผึ้ง. วารสารส่งเสริมการเกษตร 53(294): 27-29.

หนึ่งฤทัย กองนำ. 2561. แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 107 หน้า.

อรมน ทรัพย์ทวีธรรม. 2565. พาณิชย์แนะผู้ผลิตน้ำผึ้งและโกโก้ใช้ช่องทางเอฟทีเอเจาะตลาดต่างประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.infoquest.co.th/2022/175361 (25 พฤศจิกายน 2565).

อรวรรณ ศิริเอนก. 2562. แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 103 หน้า.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1,130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ