ความต้องการในการส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้าของเกษตรกรในตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • แสงรวี ไชยโย วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความต้องการการส่งเสริม, การผลิตกาแฟอาราบิก้า, จังหวัดน่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตกาแฟอาราบิก้า
และ (3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้า ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตกาแฟอาราบิก้า
ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2565/66 จำนวน 130 ราย เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.55 ปี มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.79 คน
มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟอาราบิก้า เฉลี่ย 5.56 ปี  มีรายได้รวมครัวเรือนเฉลี่ย 74,053.85 บาทต่อปี และมีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 8,000.00 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ได้พันธุ์มาจากบริษัทรับซื้อ ใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ใช้น้ำฝนในการเพาะปลูกเป็นหลัก ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดวัชพืช  โรค และแมลง เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้าในระดับมากที่สุด 2 อันดับแรก ได้แก่ (1) การป้องกันกำจัดแมลง (2) การป้องกันกำจัดโรค ดังนั้นเจ้าหน้าที่ควรมีการติดตาม
และเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในกาแฟอาราบิก้า เพื่อให้เกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการผลิตกาแฟอาราบิก้า

References

กรมวิชาการเกษตร. 2562. คู่มือการจัดการการผลิตกาแฟอาราบิก้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.doa.go.th/hc/sisakat/wp/uploads/2021/08/การผลิตกาแฟอะราบิก้า-1.pdf. (7 พฤศจิกายน 2565).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://farmer.doae.go.th/report/report65/report_coffee_63_fmdfbd. (20 พฤศจิกายน 2565).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://farmer.doae.go.th/report/report65/report_coffee_64_fmdfbd. (20 พฤศจิกายน 2565).

จุฬารัตน์ คำเภา. 2561. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตกาแฟในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 131 หน้า.

ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ และ พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2560. รูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง. แก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ) 1: 523-524.

นพดล อุปถัมภ์. 2559. การผลิตและเทคนิคการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 110 หน้า.

สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2564. สินค้ากาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www. https://api.dtn.go.th/files/v3/60ab89bfef41404c064045a6/download. (13 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564ก. กาแฟแยกตามพันธุ์ เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ปี 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/Varieties%20coffee%2064.pdf. (13 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564ข. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/view/1ตารางแสดงรายละเอียดกาแฟ/TH-TH. (13 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2564. รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด พ.ศ.2547-2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.statbbi.nso.go.th. (13 พฤศจิกายน 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ