การพัฒนาวัสดุปลูกจากการใช้ผลตีนเป็ดน้ำสำหรับการผลิตผักบุ้งจีน

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ คล้ำชื่น คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พรสวรรค์ แสงใส คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ภูริพันธ์ ชัยดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นิยม บัวบาน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พันทิพา ลิ้มสงวน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

วัสดุปลูก, ลูกตีนเป็ดน้ำ, ผักบุ้งจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้เป็นวัสดุปลูกเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวัสดุปลูกที่หาได้จากธรรมชาติชนิดอื่นๆ และเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชโดยใช้วัสดุปลูกจากธรรมชาติ วางแผนการทดลองแบบ CRD ประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ได้แก่ วัสดุผสมจากผลตีนเป็ดน้ำที่ประกอบด้วย ผลตีนเป็ดน้ำ มูลวัว ปุ๋ยอินทรีย์ และไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (Mixed Waste) ร่วมกับดิน อัตรา 100:0, 75:25, 50:50, 25:75 และ 0:100 โดยน้ำหนัก ใช้ผักบุ้งจีนมาปลูกทดสอบ จากผลการทดลอง พบว่าทุกชุดการทดลองที่มีการใช้ Mixed Waste และใช้ Mixed Waste ร่วมกับดินส่งผลให้ผักบุ้งจีนมีการเจริญเติบโตด้านความสูง จำนวนใบ และค่าคลอโรฟิลล์มีความแตกต่างกันแต่สูงกว่าการใช้ดินเพียงอย่างเดียว ในด้านผลผลิต พบว่าการใช้ Mixed Waste เพียงอย่างเดียวมีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ดินเพียงอย่างเดียวโดยมีค่าเท่ากับ 24.42 กรัม และ 7.88 กรัม ตามลำดับ

References

ครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน. 2562. การผลิตและพัฒนาสูตรดินปลูกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อจำหน่าย กรณีศึกษากลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลหนองตาด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(3): 66-77.

ฉัตรตรา นารถพินิจ. 2543. ผลของวัสดุปลูกชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์อพอลโล. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม. 23 หน้า.

ปิยพงศ์ เขตปิยรัตน์, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ศุภชัย อำคา ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย และพงษ์เพชร พงษ์ศิวาภัย. 2560. ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อสมบัติดิน ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(3): 19-28.

มนตรี ปัญญาทอง และกฤตภาค บูรณวิทย์. 2557. ความสัมพันธ์ของอินทรียวัตถุกับค่าความเป็นกรดของพืชหมักบางชนิด. วารสารนเรศวรพะเยา 7(2): 137-141.

ศิวดล แจ่มจำรัส. 2559. ศึกษาผลของวัสดุปลูกจากปุ๋ยหมักจากเปลือกฝักมะขามต่อดินพร้อมปลูก. น. 1588-1596 ใน การประชุมสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 3 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์.

สมนึก นวลพรหม. 2548. ผลของอัตราการหว่านเมล็ดต่อผลผลิตและมาตรฐานคุณภาพของผักบุ้งจีน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม. 15 หน้า.

Rajeev, P.I. 2007. “Suicide fruit” now a rich harvest. (online) Available Source : http://archive.indianexpress.com/news/-suicide-fruit--now-a-rich-harvest-/22413/ (January 3, 2021).

Sarah, K. 2015. Morning mix: the brutal harvest of India’s ‘suicide tree’. (online) Available Source: https://www.washingtonpost.com/news/morning-mix/wp/2015/05/08/the-brutal-harvest-of-indias-suicide-tree/ (January 3, 2021).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ