พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกของเกษตรกรในเขตภาคกลาง และความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติประจำพันธุ์
คำสำคัญ:
พันธุ์ข้าว, เกษตรกร, ผลผลิต, ความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกของเกษตรกรในเขตภาคกลางและความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติสำคัญประจำพันธุ์บางประการรวมทั้งราคาผลผลิตข้าว โดยสุ่มสำรวจเกษตรกรจาก 10 จังหวัด ด้วยแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 100 ตัวอย่าง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัดส่วนร้อยละของพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก จัดอันดับ และเปรียบเทียบกับคุณสมบัติที่สำคัญของพันธุ์ข้าวและราคา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 34 มีพื้นที่ทำนามากกว่า 30 ไร่ต่อครัวเรือน ร้อยละ 68 ปลูกข้าวมากกว่า 2 ครั้งต่อปี และร้อยละ 90 ปลูกข้าวโดยวิธีนาหว่านน้ำตม พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกและสำรวจพบทั้งหมดมี 15 พันธุ์ พันธุ์ข้าว 5 อันดับแรกที่นิยมปลูกมากที่สุดคือ กข47 (ร้อยละ 22) กข61 (ร้อยละ 20.3) กข57 (ร้อยละ 17.8) ปทุมธานี 1 (ร้อยละ 8.5) และ พิษณุโลก 2 (ร้อยละ 7.6) โดยพันธุ์ข้าวปลูกทั้ง 5 พันธุ์มีคุณลักษณะสำคัญคือ เป็นข้าวอายุสั้น (87-110 วัน) ผลผลิตค่อนข้างสูง (714-1,004 ตันต่อไร่) เป็นข้าวไม่ไวแสง ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และราคาค่อนข้างสูง (6,400-8,900 บาทต่อตัน)
References
กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ricethailand.go.th/rkb3/ (11 สิงหาคม 2562)
กรมการข้าว. 2560. รายงานสถานการณ์การเพาะปลูกแผนการผลิตและการตลาดครบวงจร รอบที่1. กรมการข้าว, กรุงเทพฯ. 19 น.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560a. ระบบจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวะการผลิต. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://production2.doae.go.th/ (14 สิงหาคม 2562).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560b. Farmer Map. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 200 น.
ชาติ พานเหล็ก. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อใช้ในการปลูกของเกษตรกรในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 105 น.
ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว และชิษณุชา บุญดาบุญ. 2561. การใช้ประโยชน์ที่ดินและความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. Journal of Agricultural Research and Extension 35(2): 11-23.
ปริญญากร จัตุพร, พัฒนา สุขประเสริฐ และวัชร ลิ้มวรรณดี. 2562. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จังหวัดนครปฐม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(2): 381-393.
ปรียารัตน์ จอมแดง, สุนันท์ สีสังข์ และพรชุลีย์ นิลวิเศษ. 2557. การตัดสินใจเลือกใช้พันธุ์ข้าวในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. น. 1-4. ใน การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ริสา รัตนชัย และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2015. ศึกษาสภาพการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Agricultural Science Journal 46(3)(Suppl.): 753-756.
วรรณา ประยุกต์วงศ์. 2561. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตข้าวของเกษตรกรชานเมือง: กรณีศึกษาบริเวณคลองหกวา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10(19): 156-170.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560a. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/view/1/ (14 สิงหาคม 2562).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560b. สถิติการเกษตรแห่งประเทศไทย. 2560. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ. 120 น.
สุชานาถ โพธิกุล และพิไลวรรณ ประพฤต. 2561. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชาวนาในอำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 5(3): 118-126.
สุพัตรา ศรีสุวรรณ และสุทัตรา ชุมพร. 2012. สภาพการปลูกข้าวของเกษตรกร ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Agricultural Science Journal 43(2)(Suppl.): 577-580.
อัครพงศ์ อั้นทอง, มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และนรินทร์ พันธ์เขียว. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 14(2): 70-85.
Jirarud, S., S. Suwanmareepong and P. Manked. 2016. Farmer and farm characteristics affecting rice production on large agricultural plot scheme: A case of Khlong Khuean district, Chachoengsao province, Thailand. International Journal of Agricultural Technology 12(7.2): 1821-1831.
Saisema, J. and A, Pagdee. 2015. Ecological and socioeconomic factors that affect rice production in saline soils, Borabue, Mahasarakham, Thailand: Implications for farm management practices. Agroecology and Sustainable Food Systems 39(1): 62–82.
Thamarai, M. and R. P. Soundararajan. 2017. Evaluation of antibiosis resistance to brown planthopper, Nilaparvata lugens (Stal) in rice. Journal of Entomology and Zoology Studies 5(3): 954-957.