การเจริญเติบโตและผลผลิตของกล้าปาล์มน้ำมันข้ามปีในจังหวัดกระบี่ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิรินภา คงเจริญ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สมคิด ดำน้อย สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พัชรินทร์ ตัญญะ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุรกิตติ ศรีกุล สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • รพี ดอกไม้เทศ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
  • วีระพันธุ์ สรีดอกจันทร์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

Elaeis guineensis, FFB, ลูกผสม, แปลงทดลองขนาดใหญ่, กล้าข้ามปี

บทคัดย่อ

การทดลองนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสมรรถภาพของกล้าปาล์มน้ำมันปกติและกล้าข้ามปี ต่อลักษณะการเจริญเติบโตและ ผลผลิต ใช้แผนการทดลองแบบ Split Plot in Randomized Complete Block design (RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยหลักคือกล้าปาล์มน้ำมัน 2 ชนิด (ปกติและข้ามปี) ปัจจัยย่อย คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมัน 7 ลูกผสม บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตทุก 6 เริ่มที่ 12 ถึง 60 เดือนหลังย้ายปลูก และข้อมูลผลผลิตบันทึกที่ 27 ถึง 63 เดือนหลังย้ายปลูก พบว่าการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบทุกลักษณะ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างต้นกล้าปกติและกล้าข้ามปี ในช่วงสองปีแรกของการเก็บเกี่ยว ผลผลิตทะลายสดระหว่างต้นกล้าปกติและต้นกล้าข้ามปีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามในปีที่ 3 ของการเก็บเกี่ยว ต้นกล้าปกติมีผลผลิตทะลายปาล์มสดสูงกว่ากล้าข้ามปีอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ผลผลิต 163 และ 145 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนทะลายสดพบว่าต้นกล้าปาล์มน้ำมัน 2 ชนิดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลูกผสม Deli × Yangambi -T และ Deli × Tanzania-T ซึ่งเป็นพันธุ์ ปาล์มน้ำมันของไทยมีผลผลิตทะลายปาล์มสดสะสมสูงสุด 3 ปีอย่างมีนัยสำคัญที่ 326 และ 330 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ปรับปรุงและพัฒนาโดยหน่วยงานในประเทศไทย มีศักยภาพในการให้ผลผลิตทะลายสูงทัดเทียมกับพันธุ์ลูกผสมที่นำเข้า

References

Agusta, H., B. Pratanu, J.F.Saragih, G.C. Handoyo and E Sulistiyono. 2020. The dynamics of precipitation and its relation to flowering status and oil palm productivity. 1st International Conference on Sustainable Plantation. Earth and Environmental Science 418, doi:10.1088/1755-1315/418/1/012043.

Barcelos, E., S. D. A. Rios, R. N. Cunha, R., Lopes, S. Y. Motoike, E. Babiychuk, A. Skirycz and S. Kushnir. 2015. Oil palm natural diversity and the potential for yield improvement. Frontiers in Plant Science 6:190.

Beaton, J.D., M. Hasegawa and J.C.W. Keng. 1990. Some aspects of plant nutrition/soil fertility management to consider in maximum yield research, pp. 131-152. In: Proceedings symposium maximum yield research satellite symposium. 14th International Congress of Soil Science, held at Kyoto, Japan.

Corley, R.H.V. and C.J. Breure. 1988. Measurement in Oil Palm Experiment. UNIPALMOL Company, Malaysia. (Mimeographed). 64 p.

Corley, R.H.V. and P.B Tinker. 2003. The Oil Palm. 4th ed. Blackwell Science, Oxford. 562 p.

Corley, R.H.V. and P.B Tinker. 2016. The Oil Palm. 5th ed. John Wiley and Sons, New York. 647 p.

Rajanaidu, N., M. M., Ainul, A., Kushairi and A. Mohd Din. 2013. Historical review of oil palm breeding for the past 50 years—Malaysian journey. Pp. 11-28. In: Proceedings of the International Seminar on oil Palm Breeding Yesterday, Today and Tomorrow, Kuala Lumpur, Malaysia.

Rethinam, P., K. Suresh, V.M. Reddy, P.C. Tripathi, S. Nair and M. Sugunamani. 2000. Effect of age of oil palm seedlings at planting on growth. Journal of Oil Palm Research 1(1/2): 61-63.

Statista. 2022. Palm oil consumption worldwide from 2015/2016 to 2022/2023. Available Source: https://www.statista.com/statistics/274127/world-palm-oil-usage-distribution/ (June 7, 2023).

Tabatabaei, S.A., V. Rafiee and E. Shakeri. 2012. Comparison of morphological, physiological and yield of local and improved cultivars of cotton in Yazd province. International Journal of Agronomy and Plant Production 3 (5): 164-167.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ