ความต้องการได้รับการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตปาล์มน้ำมัน ของเกษตรกรอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สมุห์ภัทร์ สังข์ไชย วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน, การผลิตปาล์มน้ำมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และ (4) ความต้องการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2565 จำนวน 2,114 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 337 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 9.74 ปี มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 8.98 ไร่ ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 3.21 ตันต่อไร่ต่อปี มีรายได้จากการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 187,775.07 บาทต่อปีต่อครัวเรือน  (2) เกษตรกรมีการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในการผลิตปาล์มน้ำมัน โดยมีการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำปุ๋ยทั่วไป ร้อยละ 62.00 (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 8.60 และ(4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมด้านเนื้อหาวิชาการระดับมากในประเด็นหลักการเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เฉลี่ย 3.90  และวิธีการส่งเสริมรายบุคคลระดับมากในประเด็น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เฉลี่ย 4.15 โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ควรมีการเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรตามความต้องการของเกษตรกรได้

References

ชัยรัตน์ นิลนนท์. 2544. โครงการความต้องการธาตุอาหารและการจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน. เอกสารวิชาการ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 112 หน้า.

ธีระพงศ์ จันทรนิยม. 2559. การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ. ห้างหุ้นส่วนหาดใหญ่ดิจิตอลพริ้นท์. สงขลา. 124 หน้า.

ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์ และพลากร สัตย์ซื่อ. 2563. ความต้องการความรู้ในการทำสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยในจังหวัดสตูล. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 14(2):1-24.

รัตนพล คุ้มภัย. 2563. การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 92 หน้า.

สมชาย พรุเพชรแก้ว. 2552.การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อยในอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 129 หน้า.

สำนักงานเกษตรอำเภอกันตัง. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรอำเภอกันตัง ปี 2565. แผนพัฒนาการเกษตร. สำนักงานเกษตรอำเภอกันตัง, จังหวัดตรัง. 50 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2565. รายงานประจำปี. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพมหานคร:165 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ราคาสินค้ารายเดือนประจำปี 2565(ระบบออนไลน์)แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/view/1/ราคาสินค้าเกษตร/TH-TH. (1 พฤษภาคม 2566).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ