ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
กล้วยหอมทอง, การส่งเสริม, ความต้องการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกร 3) ความต้องการในการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตกล้วยหอมทองใน
พื้นที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 255 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของทาโร ยามาเน (Yamane, 1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 156 ราย รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.73 ปี มีประสบการณ์ในการปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย 11.46 ปี มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย 43.88 ไร่ รายได้จากการผลิตกล้วยหอมทองเฉลี่ย 43,680.77 บาท/ไร่ มีรายจ่ายจากการผลิตกล้วยหอมทองเฉลี่ย 32,612.18 บาท/ไร่ สภาพการผลิตกล้วยหอมทอง พื้นที่ปลูกเป็นร่องสวน สภาพดินเป็นดินเหนียว ใช้น้ำจากแหล่งน้ำชลประทาน ป้องกันกำจัดโรคและแมลงโดยใช้สารเคมี เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่ออายุ 8 – 10 เดือน เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมด้านวิชาการเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน และวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มโดยการจัดทำแปลงสาธิตการผลิตกล้วยหอมทองคุณภาพเพื่อใช้เป็นแปลงเรียนรู้ เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องของปุ๋ยเคมี สารเคมี และปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ข้อเสนอแนะคือ เจ้าหน้าที่ควรมีการติดตามให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นแนวกันลม และหน่วยงานภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกร
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : https://production.doae.go.th/site/login. (20 มกราคม 2566).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2566. การผลิตกล้วยพันธุ์ดี. แผ่นพับ. กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริมการเกษตร, สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี. 2 หน้า.
พิมพ์พิชชา ประเสริฐศรี สุนันท์ สีสังข์ และพลสราญ สราญรมย์. 2562. การส่งเสริมการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. หน้า 1391 – 1398. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ไพศาล กะกุลพิมพ์ และสุภาภรณ์ พวงชมภู . 2561. การวางแผนการผลิตพืชของเกษตรกลุ่มวิสาหกิจชุมกล้วยหอมทองวังทอง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 36(1): 85 – 94.
วสันต์ ชุณห์วิจิตรา. 2557. การปลูกกล้วยหอมทอง. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 60(2): 59 – 72.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี. 2563. ข้อมูลเพื่อการวางแผนการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้าของจังหวัดปทุมธานี ปี 2563 “กล้วยหอม”. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล : https://www.opsmoac.go.th/pathumthani-dwl-files-421391791163. ( 20 มกราคม 2566).
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2563. กลยุทธ์ปลูกกล้วยให้ได้ประโยชน์ กินก็ดี ขาย – ส่งออกก็ได้กำไร. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล : www.mgronline.com/smes/detail/9630000126929. (20 มกราคม 2566).
อรพิมพ์ สุริยา เฉลิมพล จตุพร พัฒนา สุขประเสริฐ และสุวิสา พัฒนเกียรติ. 2560. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตกล้วยหอมทองของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 9(2): 208 – 218
Atlasbig. 2020. ประเทศผู้ผลิตกล้วยยอดนิยม. (ระบบออนไลน์) . แหล่งข้อมูล : https://shorturl.asia/RAyHt. (20 มกราคม 2566).
Yamane, Taro. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1130 p.