การส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การผลิตลำไย, มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกร 2) การปฏิบัติในการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากร คือ เกษตรกรผู้ผลิตลำไยในอำเภอฮอด
จังหวัดเชียงใหม่ ในรอบปีการผลิต 2565/66 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอฮอด จำนวน 220 ราย
มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ โดยยอมให้เกิดความ
คลาดเคลื่อนที่ระดับ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 142 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คัดเลือกประชากรโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) เกษตรกรทั้งหมดปลูกลำไยพันธุ์อีดอ มีการพ่นฮอร์โมนแคลเซียมโบรอน เฉลี่ย 13.53 ครั้ง เกษตรกรมีการจำหน่ายลำไยผ่านพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ 2) การปฏิบัติในการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร
ในระดับมากที่สุด ประเด็นการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 3) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในระดับมาก ในประเด็นการส่งเสริมแบบมวลชน และเกษตรกรเสนอแนะให้ เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสาร คู่มือ หรือแผ่นพับ จัดทำสื่อการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ข้อมูลองค์ความรู้เรื่องการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
References
กรมส่งเสริมการเกษตร . 2566. การปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://farmer.doae.go.th. (2 มีนาคม 2566)
จิรวุฒิ มงคล. 2557. ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 96 หน้า.
เฉลิมพร ลำน้อย. 2557. การผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 130 หน้า.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. 2562. เทคโนโลยีเกษตร: การผลิตลำไยนอกฤดู. เทคโนโลยีชาวบ้าน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_3693. (12 มีนาคม 2566)
นิภาพร วงศ์สะอาด. 2555. การปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับลำไยของเกษตรกรอำเภอสามเงา จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 113 หน้า.
บุหงา จินดาวานิชสกุล. 2561. แนวทางการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ในการผลิตลำไยนอกฤดู จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 118 หน้า.
ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์. 2551. การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดลำไยส่งออก. ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551. รายงานผลการวิจัยและพัฒนา. คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/research/showthread.php?tid=1557. (2 กรกฎาคม 2566).
พนิดา เปรมจิตติบันเทิง. 2564. การส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 120 หน้า.
รุ่งทิพย์ ชัยพรม. 2558. กระบวนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย 6(1): 165-175.
วสันต์ ธรรมสอน. 2563. การยอมรับการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอ
ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 102 หน้า.
สรินทร์ ตันเส้า. 2562. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 159 หน้า.
สามารถ ใจเตี้ย, สิวลี รัตนปัญญา และสุรศักดิ์ นุ่มมีศรี. 2565. การใช้สารชีวภาพของเกษตรกร ผู้ผลิตลำไยนอกฤดูอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 40(1): 40-49.
สุนันทา ณ มา. 2561. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 131 หน้า.
เสฏฐวุฒิ มิ่งมงคลศศิธร. 2562. ความต้องการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 123 หน้า.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2564. GAP พืชอาหาร. สำนักพิมพ์สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กรุงเทพฯ 16 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2566. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 242 หน้า.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1,130 p.