ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • ณภัสนันท์ อินคง วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ สารกำจัดศัตรูพืช การผลิตทุเรียน, มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ4) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2565 จำนวน 220 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 ราย รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.26 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีประสบการณ์ในการผลิตทุเรียน 17.38 ปี มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 5.13 ไร่ มีต้นทุนในการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 18,078.17 บาทต่อไร่ต่อปี มีรายได้จากการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 98,654.93 บาทต่อไร่ต่อปี และมีผลผลิตทุเรียนเฉลี่ย 871.90 กิโลกรัมต่อไร่ 2) เกษตรกรมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมากที่สุด ด้านน้ำ และปฏิบัติน้อยที่สุด ด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลและการบันทึกข้อมูล 3) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด ด้านน้ำ และ 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิต และขาดความรู้ด้านน้ำ คือ ควรให้ความรู้ด้านการให้น้ำตามระยะการเติบโตของทุเรียน และมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ควรเข้าไปเยี่ยมเยียนแปลงเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ปัญหาด้านน้ำ ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

References

ชฎารัตน์ พรหมศิลา. 2562. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,นนทบุรี. 146 หน้า

วนิดา เหรียญทอง. 2560. แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 383 หน้า

สำนักงานการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2565 สินค้าทุเรียนและผลิตภัณฑ์ (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:

www https://api.dtn.go.th/files/v3/606ffb08ef4140a89b03bf59/download (20 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.). 2565. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2564) (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www. https://www.acfs.go.th/files/files/commodity-standard/20211105115922_732642.pdf (25 พฤศจิกายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565 ข้อมูลสินค้าเกษตรทุเรียน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:

https:// /www.mis-app.oae.go.th/product/ (20 พฤศจิกายน 2565).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1,130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ