ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • อัญชัน ขุนด้วง วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พลสราญ สราญรมย์ วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, เชื้อราไตรโคเดอร์มา, นาแปลงใหญ่, ข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้   และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 3) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกนาแปลงใหญ่ ในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก พ.ศ.2564 จำนวน 321 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวนตัวอย่าง 178 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า  1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.93 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 28.66 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีแรงงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 2.24 คนต่อครัวเรือน มีพื้นที่ทำนา เฉลี่ย 17.24 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 57,286.51 บาทต่อปี  2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับมาก แหล่งความรู้ที่เกษตรกรเข้าถึงมากที่สุด คือ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน   3) เกษตรกรร้อยละ 70.80 มีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกร ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา และปัญหาด้านการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 5) ปัญหาที่พบมากที่สุดของเกษตรกร คือ เอกสารคำแนะนำและแผ่นพับมีเนื้อหาไม่น่าสนใจ และมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำเอกสารคำแนะนำการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อให้เกษตรกรใช้ศึกษาเรียนรู้และนำไปใช้

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . 2564. คู่มือโครงการส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. กรุงเทพฯ 12 หน้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. คู่มือศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.).กองส่งเสริมอารักขาพืชและดินปุ๋ย. กรุงเทพ ฯ 64 หน้า.

กันยารัตน์ อ่วมภักดี. 2562. การส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวอำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก. ปริญญาเกษตรศาสตร์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี 108 หน้า.

ฐิติภัทร มีบุบผา และ สุพัตรา ศรีสุวรรณ. 2560. ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา ในนาข้าว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35 (1): 35-43.

พิมพ์ใจ วงศ์อนุ. 2562. การส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในนาข้าวของ เกษตรกรนาแปลงใหญ่ ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาเกษตรศาสตร์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 143 หน้า.

ภรณี ต่างวิวัฒน์. 2553. แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับความรู้และการจัดการความรู้. ใน ประมวล สาระชุดวิชา การจัดการความรู้ เพื่องานส่งเสริมการเกษตร (หน่วยที่ 1).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 438 หน้า.

รัชกาญจน์ วินิจ. 2561. ความต้องการการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์. หน้า 958-971. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก. (ม.ป.ป.). เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma spp.). [แผ่นพับ]. (ม.ป.ท.).

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตาก. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ปี 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/rice%20varieties%2064.pdf. (20 สิงหาคม 2566)..

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ข้าวนาปี : เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ระดับประเทศ ภาค และจังหวัด ปี 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/rice%20varieties%2064.pdf. (20 สิงหาคม 2566).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ