การให้น้ำหยดด้วยระบบโซล่าเซลล์สำหรับการปลูกอ้อย
คำสำคัญ:
การให้น้ำพืช, การให้น้ำแบบหยด, พลังงานแสงอาทิตย์, โซล่าเซลล์, อ้อยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้น้ำหยดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการเพาะปลูกอ้อยในพื้นที่แห้งแล้งและไม่มีกระแสไฟฟ้า ออกแบบติดตั้งระบบน้ำหยดในร่องอ้อยระยะแถวปลูก 1.5 ม. ความยาวเทปน้ำหยด 40 ม. ติดตั้งบนผิวดินสามารถเคลื่อนย้ายได้ ระบบให้น้ำหยดประกอบด้วย ถังน้ำความจุ 1 ลูกบาศก์เมตร ตั้งสูงจากพื้น 1 เมตร สามารถเติมน้ำได้ตลอดเวลา เครื่องกรองน้ำเกษตรแบบดิสค์ขนาดทางน้ำเข้าออก 1 นิ้ว ใช้ไส้น้ำกรองเบอร์ 140 เมช ควบคุมการเปิดปิดน้ำด้วยประตูน้ำแบบบอลวาล์วขนาด 1 นิ้ว เครื่องสูบน้ำไฟฟ้ากระแสตรงใช้แรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ 72 แอมแปร์ชั่วโมง อัตราการสูบน้ำ 1.02 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่แรงดันน้ำสูงสุด 2.8 บาร์ ส่วนระบบโซล่าเซลล์ประกอบด้วยโซล่าคอนโทรลชาร์จเจอร์ที่มีความสามารถชาร์จไฟได้ 12 โวลท์ 72 วัตต์ แผงโซล่าเซลล์เป็นชนิดโมโนคริสตอลไลน์ 120 Wp ±3%, 18.0V, 6.67Ah, พร้อมแบตเตอรี่แรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ กระแส 75 แอมแปร์ชั่วโมง ทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับโครงสร้างหลักเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ทดสอบการผลิตไฟฟ้าและการจ่ายน้ำให้กับแปลงปลูกอ้อยด้วยน้ำหยดแบบเทปน้ำหยด จากการศึกษาพบว่าสามารถใช้เทปน้ำหยดได้สูงสุดจำนวน 5 เส้นๆ ละ 40 เมตร มีจำนวนหัวน้ำหยด 200 หัวต่อเส้นเทป ที่แรงดันน้ำ 1 บาร์ ให้อัตราการจ่ายน้ำเฉลี่ย (qa) 0.82 ลิตร/ชั่วโมง มีอัตราการจ่ายน้ำมากที่สุดและน้อยที่สุด 0.98 และ 0.63 ลิตรต่อชั่วโมง คิดเป็นความแตกต่างระหว่างอัตราการจ่ายน้ำเท่ากับร้อยละ 35.85 และมีค่าความสม่ำเสมอในการให้น้ำ (EU) เท่ากับร้อยละ 76.83 ระบบน้ำหยดมีอัตราการให้น้ำ (Pr) เท่ากับ 2.73 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง อัตราการจ่ายน้ำของระบบรวมเท่ากับ 820 ลิตรต่อชั่วโมง ในพื้นที่ให้น้ำ 300 ตารางเมตรต่อครั้ง ต้นทุนรวมของระบบเท่ากับ 4,990 บาท ประกอบด้วยต้นทุนระบบน้ำหยด ระบบโซล่าเซลล์และค่าแรงงานในการติดตั้งเท่ากับ 540, 4,350 บาท และ 100 บาท ตามลำดับ
References
มนตรี ค้ำชู. 2535. หลักการชลประทานแบบหยด. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
Doorenbos, J. and W. O. Pruitt. 1984. Crop Water Requirements. Guidelines for Predicting Crop Water Requirements. FAO
Irrigation and Drainage Paper No. 24. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Gilbert, R. A., C. R. Rainbolt, D. R. Morris and J. M. McCary. 2008. Sugarcane growth and yield responses to a 3-month summer flood. Agricultural Water Management 95 (2008) 95-100. [Available at
www.sciencedirect.com].
Keller, J. and R. D. Bliesner. 1990. Sprinkle and Trickle Irrigation. Department of Agricultural and
Irrigation Engineering, Utah State University.
Nakayama F. S. and D. A. Bucks. 1986. Trickle Irrigation for Crop Production. U.S. Department of Agriculture, Agricultural Research Service. U.S. Water Conservation Laboratory, Phoenix. Arizona. U.S.A.
Wiedenfeld, B. 2004. Scheduling water application on drip irrigated sugarcane. Agricultural Water
Management 64: 169-181. [Available at www.sciencedirect.com].