การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวสาลีในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
  • จารุวี อันเซตา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
  • ภัทรธีรา อินพลับ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
  • เนตรนภา อินสลุด สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • เทวินทร์ แก้วเมืองมูล ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ข้าวสาลี, พื้นที่เหมาะสม, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

จากสถิติการนำเข้าข้าวสาลีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เป็นโอกาสในการเพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร จึงต้องการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวสาลีที่มีการปลูกในปัจจุบัน โดยทำการศึกษาระหว่างเดือน มี.ค. 2566 – เม.ย. 2566 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตข้าวสาลีให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยวิธีการวิเคราะห์แบบซ้อนทับข้อมูล (overlay analysis) ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย ปัจจัยความสูงระดับทะเล ความลาดชัน เนื้อดิน ค่าปฏิกิริยาของดิน อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความลึกของดิน การระบายน้ำของดิน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดิน อัตราร้อยละความอิ่มตัวของเบส และปริมาณเกลือที่สะสม พบว่า พื้นที่มีความเหมาะสมมาก (S1) อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จำนวน 8,112 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.01 พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 25,140 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.05 พื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 3,951,318 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.19 และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) จำนวน 50,945,108 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.75

References

กรมการข้าว. 2562. ความต้องการของธัญพืชเมืองหนาวของไทย. หน้า 1-8. ใน:การประชุมผู้ใช้ประโยชน์จากธัญพืชเมืองหนาว. 23 เมษายน 2562. ณ กรมการข้าว กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2539. คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:กองวางแผนการใช้ที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 63 หน้า.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2566. บัญชีรายงานข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http:// http://sql.ldd.go.th/ldddata/index.html (13 กันยายน 2566).

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2566. สรุปสภาวะอากาศทั่วไปในรอบปี พ.ศ. 2565. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.tmd.go.th/climate/summaryyearly (30 มีนาคม 2566).

ไพบูลย์ ประพฤติธรรม, สมศักดิ์ วังใน, เสรี ไตรรัตน์, สมเจตน์ จันทวัฒน์, ถวิล ครุฑกุล, สันทัด โรจนสุนทร และ สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ภาควิชาปฐพีวิทยา. 547 หน้า.

เรนุกา ปานสี. 2560. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาศักยภาพทางกายภาพของพื้นที่ สำหรับปลูกสตรอเบอรี่ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 47 หน้า.

วันวิสาข์ คาทวี เอนก ศรีสุวรรณ และวาสนา ภานุรักษ์. 2558. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. หน้า 1-13. ใน:การประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8. 25-26 ธันวาคม 2558. ปทุมธานี.

สมพล ชีวมงคลกานต์ จอมภพ แววศักดิ์ และชนะ จันทร์ฉ่ำ. 2563. การพยากรณ์อัตราเร็วลมด้วยแบบจำลองสภาพอากาศเพื่อการวิจัยขั้นสูง WRF-ARW. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 23(3):20-30.

สาวิตร มีจุ้ย. 2528. ผลกระทบของวันปลูกและความชื้นในดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวสาลีพันธุ์ Inia 66. หน้า 93 - 109. ใน:การประชุมทางวิชาการแผนงานวิจัยและพัฒนาธัญพืชเมืองหนาว. 23-25 สิงหาคม 2528. เชียงราย.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2566. ข้อมูลสินค้าเกษตรสำคัญ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://mis-app.oae.go.th (4 เมษายน 2566).

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย, สาธิต ปิ่นมณี, นิพนธ์ บุญมี, อาทิตยา ยอดใจ, นงนุช ประดิษฐ์, สุรพล ใจวงศ์ษา และเนตรนภา อินสลุด. 2565. ข้าวสาลีขนมปังสายพันธุ์ดีเด่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11(1):17-29.

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย. 2566. การประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่และอิทธิพลของวันปลูกต่อการผลิตข้าวสาลีสายพันธุ์ดีเด่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 171 หน้า.

อาลัย มาศจรูญ, ไพบูลย์ พงษ์สกุล และทรรศนะ ลาภรวย. 2533. การปลูกข้าวสาลีหลังนาปี. หน้า 398–408. ใน:รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์มครั้งที่ 7. 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้, สุราษฏร์ธานี.

FAO. 1983. Guidelines Land Evaluation For Rained Agriculture Soils Bulletin No.52. Rome:Food And Agriculture Organization of The United Nations. 237 p.

Kilic, O. M., K. Ersayın, H. Gunal, A. Khalofah and M. S. Alsubeie. 2022. Combination of fuzzy-AHP and GIS techniques in land suitability assessment for wheat (Triticum aestivum) cultivation. Saudi Journal of Biological Sciences 29:2634–2644.

Yau, M.K. and R.R. Rogers. 1989. Short Course in Cloud Physics (3rd ed.). Butterworth-Heinemann. 302 p.

Tienwong K. 2008. Applications of Geoinformatics Technology to Land Evaluation for Energy Economic Crops in Western Thailand. Degree of Doctor of Philosophy. Suranaree University of Technology, Nakhon Rachasima. 233 p.

Yohannes, H. and T. Soromessa. 2018. Land suitability assessment for major crops by using GIS-based multi-criteria approach in Andit Tid Watershed, Ethiopia. Cogent Food & Agriculture 4(1) https://doi.org/10.1080/23311932.2018.1470481.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ