การผลิตลิ้นจี่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • กรรัตน์ สุเมธาวัฒนพงศ์ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การผลิตลิ้นจี่, มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตลิ้นจี่ของเกษตรกร 2) การผลิตลิ้นจี่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตลิ้นจี่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 198 ราย ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2564/2565 มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยคิดคำนวณจากสูตรทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อนที่ระดับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 133 ราย รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 90.20ใช้ที่ดินของตนเองในการปลูกลิ้นจี่ ร้อยละ 54.90 ปลูกลิ้นจี่พื้นที่ราบลุ่ม ร้อยละ 38.30 ใช้น้ำจากคลองสาธารณะ ร้อยละ 96.20 ปลูกลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย ร้อยละ 56.40 พบโรคผลเน่า ร้อยละ 91.00 พบหนอนเจาะขั้วผล ร้อยละ 66.20 ห่อช่อผลบางส่วน ร้อยละ 57.10 จำหน่ายผลผลิตลิ้นจี่ด้วยตนเอง 2) สภาพการผลิตลิ้นจี่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเตรียมผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายและการขนย้ายสู่ผู้บริโภค และ 3) ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตลิ้นจี่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรเป็นด้านการขาดความรู้เรื่องวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อส่งตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมีข้อเสนอแนะต้องการให้เจ้าหน้าที่จัดศึกษาดูงานและลงพื้นที่ไปแนะนำให้ความรู้เรื่องการผลิตลิ้นจี่

References

จาตุรันต์ หงส์หิน. 2560. แนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดลิ้นจี่ในจังหวัดพะเยา. หน้า 997-1013. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

นริสรา กาวิวงศ์. 2566. การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา” วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา. 165 หน้า.

วิทวัส อยู่รอง. 2560. ประสิทธิภาพการผลิตลิ้นจี่สดในพื้นที่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 16 หน้า.

สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ใจ. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอแม่ใจ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวนในปี พ.ศ. 2564. 86 หน้า

สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. 2565. แผนพัฒนาอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวนในปี พ.ศ. 2565. 427 หน้า.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2565. ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา สร้างรายได้เพิ่ม (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://xn--42ca1c5gh2k.com (20 มกราคม 2566).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ลิ้นจี่ไทย ผลไม้เศรษฐกิจของประเทศ แนะพัฒนาโลจิสติกส์และบรรจุภัณฑ์คงความสดให้ยาวนาน (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th. (20 มกราคม 2566).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ