การผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกรในอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การผลิตข้าว, การส่งเสริม การผลิตลิ้นจี่ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, จังหวัดอุตรดิตถ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตข้าว 2) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลบ้านหม้ออำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ขึ้นทะเบียน
กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2564/65 จำนวน 155 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยคิดคำนวณจากสูตรทาโร ยามาเน ความคลาดเคลื่อนที่ระดับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 112 คน รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80 พบการระบาดของโรคดอกกระถินในข้าว 2) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.7) และ 3) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ซึ่งเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการจัดการการปลูกและการดูแล โดยมีข้อเสนอแนะต้องการให้เจ้าหน้าที่มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีทางสื่อสิ่งพิมพ์ให้มากขึ้น
References
กรมการค้าต่างประเทศ. 2565. สถานการณ์ข้าวโลก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.dft.go.th/th-th/index (28 ตุลาคม 2564).
ชลธิชา สุพรรณนาลัย อดิเทพ ครุฑามาศ. 2565. การพัฒนาตลาดข้าวจีเอพีชาวนาห้วยกรด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 8(7): 265-577.
ณัฐวุฒิ จั่นทองและพหล ศักดิ์คะทัศน์. 2563. การยอมรับการผลิตข้าว (พันธุ์กข43) ตามหลักเกษตรที่ดีและเหมาะสม ของเกษตรกรในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 37(3): 49-59.
ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ และ เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม. 2565. รูปแบบการผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อมุ่งสู่มาตรฐาน GAP ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 7(8): 68-81.
ปริญญากร จัตุพร พัฒนา สุขประเสริฐและวัชร ลิ้มวรรณดี. 2562. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จังหวัดนครปฐม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(2): 381-393.
ปานรดา อิงชัยภูมิ. 2557. ประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.136 หน้า.
สิรินาถ อินภูวา. 2560. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ อําเภอนาแก จังหวัดนครพนม วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.115 หน้า.
สำนักงานเกษตรอำเภอพิชัย. 2564. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอพิชัย. แผนพัฒนาประจำปี 2564. สำนักงานเกษตรอำเภอพิชัย, จังหวัดอุตรดิตถ์. 250 หน้า.
อภิสิทธิ์ พันธชาติ. 2562. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านวิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.131 หน้า.
อรณัน กวินรัตนภัค. 2561. การจัดการผลิตข้าวตามแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ ตําบลเดิมบาง อําเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 126 หน้า
Seerasarn, N., S. A. Miller and A. Wanaset. 2020. Transitioning to organic rice farming in thailand:Drivers and factors. Asian Journal of Agriculture and Rural Development 10(3): 740-748.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1,130 p.