ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรในอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ เงารัตนพันธิกุล วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการผลิต, การผลิตกาแฟโรบัสต้า, เกษตรกรในอำเภอนาโยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟ โรบัสต้าของเกษตร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า ในอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เก็บข้อมูลจากประชากรที่ผลิตกาแฟโรบัสต้า ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2564/65 จำนวน 130 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรต้องการได้รับความรู้ด้านการผลิตกาแฟโรบัสต้า ในระดับมาก ในประเด็นมาตรฐานคุณภาพการผลิตกาแฟโรบัสต้า (ค่าเฉลี่ย4.35)  การแปรรูปผลผลิตกาแฟโรบัสต้า (ค่าเฉลี่ย 4.26) และการให้ปุ๋ย (ค่าเฉลี่ย 4.01) ในส่วนวิธีการส่งเสริมเกษตรกรต้องการได้รับการส่งเสริมในรูปแแบบกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย 3.59) การทัศนศึกษา/ดูงาน (ค่าเฉลี่ย 3.84) ดังนั้น เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างกระบวนการการเรียนรู้ โดยมีการจัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพกาแฟโรบัสต้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้า เกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อเจ้าหน้าที่ในประเด็นเจ้าหน้าที่ควรมีการนำเกษตรกรไปศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์การผลิตกาแฟโรบัสต้า และเจ้าหน้าที่ควรลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนเกษตรกรรายบุคคลเพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผลิตกาแฟโรบัสต้า

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://farmer.doae.go.th/report/report65/report_coffee_65_fmdfbd_pv/92/ (8 พฤศจิกายน 2565).

เขาช่อง รสแท้ กาแฟไทย. 2566. ต้นกำเนิดเขาช่อง. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล:https://www.khaoshong.com/th/about (13 ตุลาคม 2566). จุฬารัตน์ คำเภา. 2561. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตกาแฟในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 131 หน้า.

ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ และ พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2560. รูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง. วารสารแก่นเกษตร 45 (ฉบับพิเศษ 1): 521-526.

นวรัตน์ โพธิ์คีรี, สาวิตรี รังสิภัทร์ และพัชราวดี ศรีบุญเรื่อง. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกร ตำบลรับช่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 36 (2): 43-52.

ศุภิดา บุญนุช, จินดา ขลิบทอง และเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ. 2564. การผลิตกาแฟโรบัสต้าคุณภาพและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร. หน้า 1913-1925. ใน: รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 11. ระบบออนไลน์ โดยใช้ Microsoft Team ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2565. ราคากาแฟโลกคาดยืนระดับสูงต่อเนื่องราว 3 ปี จากอุปทานของบราซิลที่ลดลงเป็นหลักการนำเข้ากาแฟของไทยปี 65 ขยายตัวสูง. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Coffe-FB-23-11-2022.aspx (14 พฤศจิกายน 2565).

สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร. 2562. คู่มือการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้า. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล คู่มือการจัดการการผลิตกาแฟโรบัสต้า.pdf (10 ตุลาคม 2565).

สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2564. สินค้ากาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://api.dtn.go.th/files/v3/6253f844ef4140eb2c3b124e/download (14 พฤศจิกายน 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ