การยอมรับการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกร ในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การยอมรับ, การผลิตมังคุด, มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ 2) การยอมรับมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกรอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดที่ขึ้นทะเบียน กับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2564/65 จำนวน 204 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับ ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.07 ปี มีแรงงานเกษตรเฉลี่ย 2.25 คน เกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกมังคุดเฉลี่ย 20.10 ปี ได้รับการฝึกอบรมมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เฉลี่ย 1.58 ครั้ง ใน 5 ปี มีพื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 6.37 ไร่ มีต้นทุนในการผลิตมังคุดเฉลี่ย 3,550.00 บาทต่อไร่ต่อปี มีรายได้ปลูกมังคุดเฉลี่ย 14,658.14 บาทต่อไร่ต่อปี 2) เกษตรกรมีการยอมรับการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก ในประเด็นการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และเกษตรกรมีการยอมรับระดับปานกลางในประเด็นการบันทึกข้อมูล 3) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีระดับมากที่สุด ด้านการตลาด ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และข้อเสนอแนะในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลายและเกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มในการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
References
กรมวิชาการเกษตร. 2566. ผลการดำเนินงานพืชมังคุด จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอพรหมคีรี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://gap.doa.go.th/?t=6&r=194&p=708 (30 ตุลาคม 2566).
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://farmer.doae.go.th (8 พฤศจิกายน 2565).
ปธาน สุวรรณมลคล. 2561. การออกแบบการวิจัย:การออกแบบประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. หน้า 19 - 23 ใน:อารมณ์ ฤกษ์นุ้ย (บก.). ประมวลสาระชุดวิทยานิพนธ์ ขั้น 1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ผกามาศ คุ่มเคี่ยม. 2563. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง. หน้า 26 - 32. ใน: การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านวิทยาการจัดการ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
วัลลภา สามประดิษฐ์. 2563. การพัฒนาการผลิตมังคุดคุณภาพตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 122 หน้า.
สุภารัตน์ ชูชัย. 2563. แนวทางการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 117 หน้า.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช. 2562. ฐานข้อมูลเกษตรรายสินค้า พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช มังคุด. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล:https://www.opsmoac.go.th/nakhonsithammarat-dwl-files-411391791997 (2 เมษายน 2565).
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2565. ศักยภาพและอนาคตของมังคุดราชินีผลไม้ไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://www.tpso.moc.go.th/th/node/10724 (8 กรกฎาคม 2565).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2565. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http:// www.oae.go.th/ assets/portals/1/ files/jounal/2562/yearbook2561 (2 เมษายน2565).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 . 2562. ข้อมูลสินค้าเกษตร. มังคุด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://oaezone.oae.go.th/view/17/index/TH-TH (8 พฤศจิกายน 2565).
อรุณชัย ตรีไวย. 2563. การส่งเสริมการผลิตมังคุดคุณภาพ ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 138 หน้า.
