ความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ ภูกิตติกุล วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ปาล์มน้ำมัน, การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน, การส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความต้องการ   การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2565 จำนวน 360 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 190 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่   ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 66.30 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.75 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 10.27 ปี มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 21.94 ไร่ มีลักษณะการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง มีแรงงานในการทำการเกษตรเฉลี่ย 3 คน มีผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 2.90 ตันต่อไร่ต่อปี มีรายได้จากการผลิตปาล์มน้ำมันในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 474,002.63  บาทต่อปี  มีต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 151,485.89 บาท/ปี 2) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในด้านวิชาการและการปฏิบัติเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยและการให้น้ำ และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มและการฝึกปฏิบัติ  3) เกษตรกรพบปัญหาในการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน  ประเด็นการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ และ มีข้อเสนอแนะประเด็นหน่วยงานรัฐควรมีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุน

References

กรมวิชาการเกษตร. 2555. คู่มือการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันโดยวิธีผสมผสาน. (ระบบออนไลน์ ). แหล่งข้อมูล:https://www.doa.go.th/share/attachment.php?aid=1240 (12 มกราคม 2566).

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. 2564. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมไบโอดีเซล. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/energy-utilities/biodiesel/io/io-biodiesel-21 (12 มกราคม 2566).

พรพจน์ เชิญรัตนรักษ์. 2552. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร.

วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 168 หน้า.

มยุรี เดชพิชัย. 2563. การยอมรับการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 194 หน้า.

สำนักงานเกษตรอำเภอเขาพนม. 2565. แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ. สำนักงานเกษตรอำเภอเขาพนม, จังหวัดกระบี่. 175 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). 2563. ความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันระหว่าง ไทย ลาว และ จีน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://researchcafe.tsri.or.th/palm-oil-industry/ (10 มกราคม 2566).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ราคาสินค้ารายเดือนประจำปี 2565. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.oae.go.th/view/1/ราคาสินค้าเกษตร/TH-TH (12 มกราคม 2566).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2558. ผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค: แนวทางในการควบคุมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมและผู้บริโภค. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=29268 (12 มกราคม 2566).

สุภาวดี บัวเพ็ง. 2561. การยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 137 หน้า.

สุนทร วันหมื่น. 2562. การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 106 หน้า.

เสาวลักษณ์ ธนาภิวัฒน์ นารีรัตน์ สีระสาร และจรรยา สิงห์คำ. 2565. การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ผลิตส้มโอ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 5 (3): 61-70.

The Story Thailand. 2021. ปาล์มน้ำมันไทย ถึงเวลาขับเคลื่อน การพัฒนาอุตสาหกรรม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.thestorythailand.com/13/10/2021/43891/ (10 มกราคม 2566).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ