อิทธิพลของปุ๋ยมูลค้างคาวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแรดิชที่ปลูกในวัสดุปลูก
คำสำคัญ:
ปุ๋ยมูลค้างคาว, การเจริญเติบโต, ผลผลิต, แรดิชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของปุ๋ยมูลค้างคาวที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแรดิชที่ปลูกในวัสดุปลูก วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ซึ่งประกอบด้วย 5 ทรีทเมนต์ คือ ตำรับทดลองที่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดควบคุม) ตำรับทดลองที่ 2) ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 48 กิโลกรัมต่อไร่ (0.99 กรัมต่อต้น) ตำรับทดลองที่ 3) ปุ๋ยมูลค้างคาว 1,350 กิโลกรัมต่อไร่ (28 กรัมต่อต้น) ตำรับทดลองที่ 4) ปุ๋ยมูลค้างคาว 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ (56 กรัมต่อต้น) และ ตำรับทดลองที่ 5) ปุ๋ยมูลค้างคาว 4050 กิโลกรัมต่อไร่ (84 กรัมต่อต้น) ผลการวิจัยพบว่า แรดิชที่ได้รับปุ๋ยมูลค้างคาว 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ (56 กรัมต่อต้น) มีความสูงเฉลี่ยของต้น (19.08 เซนติเมตร) ความกว้างเฉลี่ยของทรงพุ่ม (38.06 เซนติเมตร) ค่าความเขียวเฉลี่ยของใบ (38.84 SPAD UNIT) จำนวนใบเฉลี่ย (8.80 ใบ) และความยาวเฉลี่ยของหัวแรดิช (41.88 มิลลิเมตร) ที่ดี ขณะที่แรดิชที่ได้รับปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 48 กิโลกรัมต่อไร่ (0.99 กรัมต่อต้น) มีความกว้างเฉลี่ย (51.99 มิลลิเมตร) และน้ำหนักสดเฉลี่ยของหัวแรดิช (57.89 กรัม) มากที่สุด การใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวที่อัตรา 2700 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นอัตราที่เหมาะสม เนื่องจากส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของแรดิชที่ปลูกในวัสดุปลูก สูงใกล้เคียงกับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยจากองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
References
ณัฐณิชา สมศรีใส และจักรพงษ์ พวงงามชื่น. 2552. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 1(2):54-64.
ณัฐวุฒิ สุดใจดี, พิษณุ ทองโพธิ์งาม และอาสูร อ่อนน่วม. 2556. อิทธิพลของปุ๋ยคอกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน. หน้า 74. ใน:ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.
ธาตุอาหารพืช. ม.ป.ป. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://nifle.snru.ac.th/dowload.aspx?NFILE=TEACHER_290_ 18102015212715035.pdf (5 ตุลาคม 2563).
พรนภา เผยศิริ, สุภาพร ป้องปา และภาษิตา ทุ่นศิริ. 2562. ผลของวัสดุปลูกต่อผลผลิตของแรดิช (Raphanus sativus). หน้า 417-422. ใน:การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
วีณา นิลวงศ์. 2563. อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ และน้ำหมักชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินและผลผลิตของพืชผัก. วารสารแก่นเกษตร 48(3):639-650.
ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, สมฤทัย ตันเจริญ, ภาวนา ลิกขนานนท์ และสุปราณี มั่นหมาย. 2553. ศึกษาการสลายตัวและพฤติกรรมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยผสมอินทรีย์เคมี ภายใต้สภาพความชื้นสนาม:การทดลองย่อย ศึกษาการสลายตัวและพฤติกรรมการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยหมัก. หน้า 333-343. ใน:ให้พร กิตติกูล (รวบรวมข้อมูลและจัดทำเล่ม). ผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2553 สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เล่มที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, นนทบุรี.
สุกัญญา แย้มประชา, นุชรีย์ พรำนัก, นุกูล ถวิลถึง, วัลลีย์ อมรพล, สมฤทัย ตันเจริญ และวรางคณา ธรรมนารถสกุล. 2561. ผลของการขาดไนโตรเจน โพแทสเซียม และกำมะถัน ต่อการเจริญเติบโตและการดูดดึงธาตุอาหารในมันสำปะหลัง. วารสารดินและปุ๋ย 40(2):19-30.
เสาวณี หนูรักษา. 2546. การหาปริมาณธาตุอาหารหลัก (N, P, K) ในปุ๋ยชีวภาพยี่ห้อต่าง ๆ ในเขต อ. เมือง จ.นครศรีธรรมราช. รายงานรายวิชาโครงการวิจัยทางเคมีวิทยาศาสตรบัณฑิต. สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช. 35 หน้า.
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ. 2560. สกก.อินทรีย์เชียงใหม่ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%81-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%AA%E0%B9%88/ (13 สิงหาคม 2563).
องค์ความรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน. 2559. แรดิช. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://hkm.hrdi.or.th/know
ledge/detail/45 (13 สิงหาคม 2563).
อมรทิพย์ ภิรมย์บูรณ์, อุบลวรรณ อารยพงศ์ และอำไพพงษ์ เกาะเทียน. 2558. ปุ๋ยอินทรีย์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://www.ppsf.doae.go.th/web_km/group_knowledge/soil_fer/%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C.pdf ( 2 พฤศจิกายน 2566).
Blin, H. 1905. La fumure du manioc (Cassava fertilization). Bulletin Economique de Madagascar 3:419-421.
Cardoso, J., D.S. Santos, V. Silveira, E. Anselmo, S.N. Matsumoto, T. Sediyama, and F.M. Carvalho. 2005. Effect of nitrogen in the agronomic characteristics of cassava. Bragantia 64:651-659.
Mitsui, S. 1970. The uptake of major plants nutrients, N, P, K and Ca by crop plants. ASPAC Food & Fertilizer Technology Center Technical Bulletin 1:23.
