การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของเกษตรกรชุมชนบ้านเจริญธรรม ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพิชาพร ศรีขวัญ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คำมณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะ, หลัก 3Rs

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือนของเกษตรกร 2) กระบวนการจัดการขยะและประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และ 3) การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของเกษตรกร จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้นำโครงการชุมชนปลอดขยะจำนวน 1 คน และ 2) เกษตรกรบ้านเจริญธรรม จำนวน 40 ครัวเรือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.00) มีอายุเฉลี่ย 43.70 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่เฉลี่ย 26.03 ปี ขยะที่พบเป็นขยะอินทรีย์ (ร้อยละ 35.45) กระบวนการจัดการขยะของชุมชน ประกอบไปด้วย 1) การรับรู้ปัญหาขยะ 2) การจัดตั้งคณะกรรมการจัดการขยะ 3) การส่งเสริมให้คัดแยกขยะ 4) การสร้างความตระหนักในการจัดการขยะ 5) การอบรมความรู้ในการจัดการขยะ 6) การพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการขยะภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.01) โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 3.16)  รองลงมาเป็น การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 3.15) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (ค่าเฉลี่ย 3.05) และอันดับสุดท้ายคือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน (ค่าเฉลี่ย 2.59) ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ หน่วยงานท้องถิ่นควรกระตุ้นให้เกษตรกรและเยาวชนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการกระบวนการจัดการขยะเพื่อพัฒนากิจกรรมฐานการเรียนรู้ให้เกิดการจัดการขยะได้อย่างยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2559. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:

https://www.pcd.go.th/publication/5061. (8 สิงหาคม 2565).

กรมควบคุมมลพิษ. 2564. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:

https://www.pcd.go.th/publication/26626. (15 กันยายน 2565).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. การผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://aopdh03.doae.go.th/wp-content/uploads/2020/02/AF.pdf. (7 สิงหาคม 2565).

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. ม.ป.ป. คู่มือประชาชนเรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน.(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: Microsoft Word - คู่มือประชาชน เรื่อง การจัดการขยะในครัวเรือน.doc (nongrawiang.go.th) (20 สิงหาคม 2565).

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. 2565. รับสมัครโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.greennetworkthailand.com/zero-waste-2566/ (29 ธันวาคม 2565).

พัชรี ไกรแก้ว. 2550. พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ของแม่บ้าน กรณีศึกษา: แม่บ้านเขตเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร. 208 หน้า.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. 2555. การใช้ประโยชน์และการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนประชาชน ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์อิสระ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร. 74 หน้า.

ภฤศยา ปิยนุสรณ์ และ วรรณี สุทธใจดี. 2555. รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาการเลี้ยงไส้เดือนเชิงพานิชย์ในการจัดการขยะอินทรีย์. ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร. 52 หน้า.

วาริญนิศา วิจิตรวงศ์วาน และ วิจิตรา ศรีสอน. 2565. แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนต้นแบบบ้านรางพลับ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 8(4): 253-267.

วีระศักดิ์ ขำเกิด, วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง และ มยุรี รัตนเสริมพงศ์. 2564. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. Lawarath Social E-Journal 3(2): 13-30.

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. 2558. คู่มือการคัดแยกขยะและวิธีการทิ้งขยะ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000231/pdf/338-01.pdf. (7 สิงหาคม 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ