ผลของการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อนสายพันธุ์คูนามิที่ปลูกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ศิริพร อ่ำทอง สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ชิติ ศรีตนทิพย์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • กิตติพันธ์ เพ็ญศรี สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • เมทินี นาคดี สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

โรคเหี่ยวเหลือง, ดัชนีการเกิดโรค, เมล่อน, การควบคุมโรคโดยชีววิธี

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อนสายพันธุ์คูนามิที่ปลูกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design; CRD แบ่งออกเป็น 3 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 25 ต้น โดยแช่เมล็ดเมล่อนในกรรมวิธีต่าง ๆ เป็นเวลา 30 นาทีก่อนนำเมล็ดไปเพาะ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ควบคุม (แช่เมล็ดด้วยน้ำเปล่า) กรรมวิธีที่ 2 แช่เมล็ดและพ่นต้นเมล่อนด้วย Trichoderma asperellum (ความเข้มข้น 1×108 cfu/ml) และกรรมวิธีที่ 3 แช่เมล็ดและพ่นต้นเมล่อนด้วย Bacillus subtilis (ความเข้มข้น 1×108 cfu/ml) จากการทดลอง พบว่า กรรมวิธีที่ใช้ B. subtillus ต้นเมล่อนมีความสูงมากที่สุด 198.27 เซนติเมตร กรรมวิธีที่ใช้ T.asperellum ต้นเมล่อนมีความกว้างใบและความยาวใบมากที่สุดคือ 23.40 และ 27.10 เซนติเมตร คุณภาพผลผลิตของเมล่อนหลังการเก็บเกี่ยว พบว่ากรรมวิธีที่ใช้ T.asperellum เมล่อนมีเส้นรอบวงผลมากที่สุด 45.40 เซนติเมตร และมีความหนาเนื้อมากที่สุด 27.12 มิลลิเมตร กรรมวิธีที่ใช้ B. subtillus มีน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด 2.05 กิโลกรัม มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงที่สุด 12.20 องศาบริกซ์และความแน่นเนื้อมากที่สุด 1.89 นิวตัน ตัน เมื่อประเมินการเกิดโรคเหี่ยวเหลืองของเมล่อนสายพันธุ์คูนามิพบว่า กรรมวิธีควบคุมมีระดับการเกิดโรคสูงที่สุดที่ระดับ 3.8 ดัชนีการเกิดโรค 95 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีที่ใช้ T. asperellum และ B. subtillus มีระดับการเกิดโรคเหี่ยวที่ระดับ 3.2 ดัชนีการเกิดโรค 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทุกกรรมวิธีมีระดับการเกิดโรคเหี่ยวไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม

References

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 2564. คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน-การปลูกเมล่อน. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, ลำปาง. 16 หน้า.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี. 2560. ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้าของจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2560. กลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี. 33 หน้า.

Abdalla, M.Y. 1986. Isolation and characterization of species and rances of Colletotrichum occurring on alfalfa. Ph.D. Dissertation, Ohio State University, Ohio. 68 p.

Aegerter, B.J., T.R. Gordon and R.M. Davis. 2000. Occurrence and pathogenicity of fungi associated with melon root rot and Vine decline in California. Plant Disease 84:224-230.

Gnanamanickam, S.S. 2002. Biological Control of Crop Diseases. Marcel Dekker, Inc. New York. 468 p.

Kaewnamarng, S., A. Akarapisan and O. Ruangwong. 2017. Selection of Rhizobacteria to control bacterial fruit blotch of melon. Journal of Agriculture 34(2):193-204.

Kangsopa, J., P. Jeephet and S. Chantain. 2021. Seed priming with Bacillus subtillus on germination and seedlings growth of lettuce (Lactuca sativa). Recent Science and Technology (RST) 13(2):393-407.

Kangsopa, J., A. Singsopa, N. Thawong and S. Chantain. 2022. Micro-nano bubble: Seed priming with Trichoderma asperellum on germination, vigor and seedling growth on Chinese kale (Brassica alboglabra). Bruapha Science Journal 27(2):1083-1101.

Kulsai, S., P. Plodpai and C. Nualsri. 2021. Screening of Trichoderma spp. For controlling gummy stem blight disease on melon. Khon Kaen Agriculture Journal 34(2):193-204.

Nuangmek, W., P. Papong and M. Titayavan. 2014. Effect of Trichoderma sp. on growth and disease control of cantaloupe (Cucumis melo) in the field. Khon Kaen Agriculture Journal 42(3):680-685.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ