การขยายพันธุ์อโกลนีมาซุปเปอร์เรดจากตาข้างในสภาพปลอดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • พันทิพา ลิ้มสงวน สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นิสสรณ์ ดีพานทอง สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ภัททิยา ศิริวัฒโก สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

อโกลนีมา, ตาข้าง, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

บทคัดย่อ

อโกลนีมาเป็นไม้ใบที่ได้รับความนิยมและตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง แต่มักพบปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราเมื่อขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ N6-Benzyladenine (BA) ต่อการเกิดยอดและการขยายพันธุ์ของอโกลนีมาในสภาพปลอดเชื้อ โดยนำตาข้างมาเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 1.0, 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงภายใต้ความเข้มแสง 50 ไมโครโมล ต่อตารางเมตรต่อวินาที ให้แสงเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) ทรีทเมนต์ละ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ชิ้น พบว่า BA มีผลต่อการเกิดยอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดเฉลี่ยมากที่สุด 1.33±0.15 ยอด รองลงมาเป็นอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เกิดยอด 1.00±0.15 ยอด ขณะที่สูตรอาหารที่ไม่เติม BA เกิดยอดเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.67±0.15 ยอด เพาะเลี้ยงยอดที่ได้บนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่ไม่เติมฮอร์โมนเพื่อให้เกิดรากและการพัฒนาของต้น ต้นอโกลนีมามีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกในสภาพธรรมชาติด้วยพีทมอสและขุยมะพร้าว

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. อโกลนีมา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/20160072/#p=1(14 ธันวาคม 2565).

กาญจนรี พงษ์ฉวี และณฐกร ประดิษฐ์สรรพ์. 2547. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนูเบียส (Anubias nanaengler). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.fisheries.go.th/aquaorna/web2/images/download/A.nana.pdf (14 ธันวาคม 2565).

จิรายุทธ กองภูเขียว, วิวัฒน์ สรจักร และกรกนก ตั้งจิตมั่น. 2564. ผลของ Benzylaminopurine (BA) ต่อการเกิดยอดของคัพภะจันทน์ผา. หน้า 43-47. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี.

ณราวุฒิ ปิยโชติสกุล. 2539. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.) ในสภาพหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 84 หน้า.

ธงชัย ศรีตะปัญญะ และกิตตศิกดิ์ โชติกเดชาณรงค์ 2561. การขยายพันธุ์จันทน์ผาโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 26(1): 59-70.

นิธิ ไทยสันทัด. 2539. อิทธิพลของ BA ต่อการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงข้อลำต้นของกาแฟอราบิก้า. วารสารเกษตร 12(3):270-278.

รงรอง หอมหวล, มณฑา วงศ์มณีโรจน์, กมลศรี สระทองพรม, รัตนา เอการัมย์ และกัลยา กระต่ายทอง. 2550. อโกลนีมา (Aglaonema) ไม้ใบประดับอนาคตไกล. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/50/plant/06_plant/06_plant.html (14 ธันวาคม 2565).

อภิชาติ ชิดบุรี, พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง และ พิทักษ์ พุทธวรชัย. 2544. ผลของ BA ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนต้นกระชายดำในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารเกษตร 17(2):100-105.

Ahmed, A.B. and K.G. Mohamed. 2018. Micropropagation and ex vitro acclimatization of aglaonema plants. Middle East Journal of Applied Sciences 8(4):1425-1436.

Kaset today. 2562. ซุปเปอร์เรด ซุปเปอร์พิงค์ ไม้ใบสีสดช่วยเสริมความมั่งคั่งและวาสนา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://kaset.today/พืช/อโกลนีมา/ซุปเปอร์เรด/ (14 ธันวาคม 2565).

Mohamed, M.A., H. A. El-Shamy, A.K. Dawh and S.S. Sawsan. 2016. In vitro micropropagation of Aglaonema commutatum Schott. Zagazig Journal of Horticultural Science 43(2):363-376.

Phetole, M. 2020. Benzyl adenine in plant tissue culture- succinct analysis of the overall influence in soybean [Glycine max (L.) Merrill.] seed and shoot culture establishment. Journal of Biotech Research 11(1):23-34.

Totik, S. M., F. Any, A. Jaime, D. S. Teixeira, W. Adhityo and F.C. Tet. 2015. Micropropagation of aglaonema using axillary shoot explants. International Journal of Basic & Applied Sciences IJBAS-IJENS 11(1):27-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ