การประเมินศักยภาพในการทนเค็มของมะเขือการค้า 11 พันธุ์ในสภาพโรงเรือน
คำสำคัญ:
ความเครียดจากความเค็ม, ดินเค็ม, การคัดเลือกบทคัดย่อ
ปัญหาน้ำทะเลหนุนไหลเข้าสู่แม่น้ำในช่วงฤดูแล้ง ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มสะสมและน้ำที่ใช้ทำการเกษตรมีค่าความเค็มที่สูงขึ้น การปลูกพืชทนเค็มจึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรได้ มะเขือจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกร ซึ่งเดิมมีรายงานว่ามะเขือไม่ทนเค็ม การทดลองในครั้งนี้จึงทดสอบมะเขือในสภาพความเค็มที่ระดับ 2 dS/m (ไม่เติมเกลือ), 6 dS/m, 9 dS/m และ 12 dS/m เพื่อประเมินและคัดเลือกพันธุ์มะเขือในระดับความเค็มต่างๆ ทำการปลูกมะเขือจำนวน 11 พันธุ์ ในกระถางที่ใช้ทรายเป็นวัสดุปลูก รดสารละลายธาตุอาหาร Ca(NO3)2•4H2O, F-EDTA, KNO3, NH4H2PO4, MgSO4•7H2O และกลุ่มจุลธาตุ H3BO3, MnSO44H2O, ZnSo47H2O CuSO45H2O, NaMoO4•2H2O ผสมเกลือ (NaCl) ทุกวัน จากนั้นทำการวัดค่าความเขียวใบในทุกสัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์และระดับความเค็มของเกลือต่อค่าความเขียวใบ และจากการประเมินความสามารถในการทนเค็มของมะเขือด้วยการให้คะแนน พบว่ามะเขือทุกพันธุ์สามารถทนเค็มได้ที่ระดับความเค็ม 6 dS/m ที่ระดับความเค็ม 9 dS/m มีมะเขือ 8 พันธุ์ที่สามารถทนเค็มได้ คือ ปิงปอง, คาสิโน, หยดน้ำนางพญา, กรอบขาว ทีเอ-089, ศรีสุข, โพไซดอน, จาวมะพร้าว และจานม่วง และที่ระดับความเค็ม 12 dS/m มีมะเขือ 3 พันธุ์ ที่สามารถทนเค็มได้ระดับปานกลาง คือ คาสิโน, กรอบขาว ทีเอ-089 และจานม่วง