การรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงจากวิกฤติภูมิอากาศ, ความสามารถในการปรับตัว, เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 98 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น และมีปริมาณน้ำฝนที่ลดลง เกษตรกรมีความสามารถในการปรับตัวต่อความเสี่ยงจากวิกฤติภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เมื่อเผชิญกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในการเกษตร เกษตรกรได้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่แตกต่างกันในช่วงก่อนความเสี่ยง (pre-risk) ได้แก่ การใช้พันธุ์ทนแล้งหรือทนน้ำท่วม และปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเพาะปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนระหว่างความเสี่ยง (during risk) เกษตรกรใช้การสังเกตพืชมากขึ้นทั้งโรคและอันตรายใหม่ที่อาจเกิดขึ้น และช่วงหลังความเสี่ยง (post-risk) เกษตรกรส่วนใหญ่เปลี่ยนระบบการปลูกพืชเป็นปลูกพืชปีละ 1 ครั้งแทน และใช้เทคโนโลยีและพันธุ์ใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกษตรกรรับรู้และมีการปรับตัวในฟาร์มและนอกฟาร์มที่หลากหลายแตกต่างกัน และในระยะยาวเกษตรกรยังคงต้องการการสนับสนุนจากภายนอก และการลงทุนมากขึ้นในเทคโนโลยีเกษตรใหม่ๆ รวมทั้งกลไกการเผยแพร่ข้อมูลและเทคโนโลยีที่เหมาะสมระดับพื้นที่เพื่อเตรียมการรับความเสี่ยง
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2565. ข้อมูลพื้นที่แล้งซ้ำซาก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://irw101.ldd.go.th/index.php/2017-05-23-02-00-40/2017-05-23-02-00-39 (1 ธันวาคม 2565).
พรพรรณ สุทธิแย้ม. 2559 รายงานโครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2888 (6 กุมภาพันธ์ 2566).
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554. โครงการศึกษาด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในอนาคตและการปรับตัวของภาคส่วนที่สำคัญ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://startcc.iwlearn.org/doc/Doc_thai_22.pdf (2 มกราคม 2562).
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ. 2566. รายงานสถานการณ์น้ำประเทศไทย ปี 2565. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.thaiwater.net/uploads/contents/current/YearlyReport2022/rain2.html (20 พฤศจิกายน 2566).
สยามรัฐ. 2562. ผู้ว่าฯ อ่างทองลงพื้นที่แก้ไขปัญหาภัยแล้งหลังชาวบ้านแย่งสูบน้ำหวั่นเหตุบานปลาย พร้อมประสานชลประทานเพิ่มรอบเวรน้ำ. 3 สิงหาคม 2562. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://siamrath.co.th/n/94647 (1 มีนาคม 2565).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2553. ประเด็นท้าทาย ข้อเสนอเชิงนโยบายและการเจรจาของไทยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก. โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร. 125 หน้า.
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง. 2564. ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีตามที่ตั้งแปลง ปี 2563/64. รายงานสถิติข้อมูล. กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ, อ่างทอง. 7 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2565/yearbook2564.pdf (1 ธันวาคม 2565).
Hussain, J., S. Hussain, N. Tahir, I. Rasool, A. Ullah and S. Ahmad. 2022. Climate change and rice production: Impacts and adaptations. In: Sarwar, Atque-ur-Rehman, S. Ahmad and M. Hasanuzzaman (Eds). Modern Techniques of Rice Crop Production. Springer, Singapore. (Online): Available Source:https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-981-16-4955-4_29 (November 20, 2023).
Jonathan, P. 2023. Extreme rainfall reduces rice yields in China. Nature Food. (Online): Available Source:https://doi.org/10.1038/s43016-023-00757-2 (November 23, 2023).
Matthews, R.B., M.J. Kropff, T. Horie, and D. Bachelet. 1997. Simulating the impact of climate change on rice production in Asia and evaluating options for adaptation. Agricultural System 54(3): 399-425. (Online): Available Source:https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0308521X9500060I (December 10, 2021).
Roper, W. 2021. Climate Change: Global Warming Chart – Here’s How Temperature Have Risen Since 1950. World Economic Forum. (Online): Available Source:https://www.weforum.org/agenda/2021/01/global-warming-chart-average-temperatures-rising/ (November 20, 2023).
Yamane, T. 1967. Elementary Sampling Theory. Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ. 405 p.
