บทบาทนักส่งเสริมการเกษตรต่อการพัฒนาตลาดเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คํามณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • เตชินทร์ ศรีเหนี่ยง สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

ตลาดเกษตรกร, บทบาท, นักส่งเสริมการเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท และความคิดเห็นของนักส่งเสริมการเกษตรต่อตลาดเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดลพบุรี จำนวน 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ผลการวิจัยพบว่า บทบาทในปัจจุบันที่นักส่งเสริมการเกษตรควรทำในการพัฒนา “ตลาดเกษตรกร” คือ การอำนวยความสะดวก โดยการประสานงาน ให้ข้อมูล เพื่อทำให้ตลาดสามารถจัดตั้งขึ้นมาได้ รวมทั้งพัฒนาเกษตรกร และให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเห็นด้วยที่ภาครัฐควรจัดให้มีตลาดเกษตรกร โดยรูปแบบตลาดเกษตรกรควรจัดเป็นตลาดที่เกษตรกรจำหน่ายสินค้ากับผู้บริโภคโดยตรง และกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับเห็นด้วยต่อประโยชน์ของตลาดเกษตรกรที่มีต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และท้องถิ่น อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายบทบาทที่นักส่งเสริมการเกษตรจำเป็นต้องทำเพื่อช่วยพัฒนาตลาดเกษตรกร ดังนั้นจำเป็นที่นักส่งเสริมการเกษตรต้องมีความเข้าใจและได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่บทบาทนั้น ๆ นอกจากนี้การบูรณาการบทบาทการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรกับองค์กรอื่นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาตลาดเกษตรกร   

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. คู่มือปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมการเกษตร ปี 2561. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com/drive/folders/0B1ig-H_qVramc0RoWW9Kakh1YkU, (8 พฤศจิกายน 2561).

พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง โชตนา ลิ่มสอน เสาวลักษณ์ ฤทธิ์อนันต์ชัย และชัยกร สีเหนี่ยง. 2559. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลาง. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 37(2): 200 – 211.

สยามรัฐออนไลน์. 2561. บทบรรณาธิการ “เสริมสร้างรายได้เกษตรกรรายย่อย”. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://siamrath.co.th/n/41136, (12 ตุลาคม 2561).

สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี. 2561. อัตรากำลังของสำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.lopburi.doae.go.th/humannew1.htm, (8 พฤศจิกายน 2561).

สำนักวิชาการ. 2560. เอกสารวิชาการ ตลาดเกษตรกร (Farmers’ Market) ตลาดทางเลือกของเกษตรกรและผู้บริโภค. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.parliament.go.th/library, (8 พฤศจิกายน 2561).

สุกัญญา พยุงสิน. 2561. การพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย (ผักและไม้ผล) แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดลพบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 7(ฉบับพิเศษ): 61 – 72.

Abel, J., J. Thomson, and A. Maretzki. 1999. Extension's role with farmers' markets: Working with farmers, consumers, and communities. Journal of Extension 37 (5). (Online). Available: www.joe.org/joe/1999october/a4.html, (8 November 2018).

Civittolo, D. 2012. Extension’s role in developing a farmers’ market. Journal of Extension 50 (1). (Online). Available: https://www.joe.org/joe/2012february/iw3.php, (8 November 2018).

Ferris, S., P. Robbin, R. Best, D. Seville, A. Buxton, J. Shriver, and E. Wei. 2014. Linking smallholder farmers to markets and the implications for extension and advisory services. MEAS Discussion paper 4. United States Agency for International Development (USAID) project “Modernizing Extension and Advisory Services” (MEAS). 46 p. (Online). Available: https://www.agrilinks.org/sites/default/files/resource/files/MEAS%20Discussion%20Paper%204%20-%20Linking%20Farmers%20To%20Markets%20-%20May%202014.pdf. (27 May 2019).

Hughes, M.E. and R.H. Matterson. 1995. Farmers markets in Kansas: A profile of vendors and market organization. Report of Progress 658. Manhattan: Kansas State University, Agricultural Experiment Station.

Larsen, K. and J. Gilliland. 2009. A farmers’ market in a food desert: Evaluating impacts on the price and availability of healthy food. Health & Place 15 (4): 1158-1162.

Wolf, M. M., A. Spittler, and J. Ahern. 2005. A profile of farmers' market consumers and the perceived advantages of produce sold at farmers' markets. Journal of Food Distribution Research 36 (1): 192-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ