การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลน กรณีศึกษา โครงการอนุรักษ์ป่าชายเลน หมู่บ้านถ้ำธง ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานบางประการของเกษตรกร 2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลน และ 3) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลน เก็บข้อมูลจากเกษตรกรพื้นที่ บ้านถ้ำธง ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยประเด็นการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลน (4.31) 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.60) 3) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการป่าชายเลน (4.53) และ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล (4.25) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ควรส่งเสริมการให้ความรู้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อนำไปสู่การจัดการป่าชายเลนให้เกิดความยั่งยืน
References
กมลชนก บัวบาน ภมรรัตน์ สุธรรม และ จตุพล ชูจันทร์. 2559. ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของประชาชนตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 3 (2): 179-192.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2561. ข้อมูลทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดชุมพร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.dmcr.go.th/detailLib/3759 (25 พฤษภาคม 2563).
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2552. แผนแม่บทการจัดการป่าชายเลน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.dmcr.go.th/detailLib/419 (15 กุมภาพันธ์ 2563).
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. ม.ป.ป. คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://is.gd/FZ5X5t (11 กุมภาพันธ์ 2563).
กาญจนากร สามเมือง. 2551. ทุนทางสังคมกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่ชุมชนบ้านคลองยาง หมู่ 2 อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ . วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
รัชดา ศรีศักดิ์บางเตย. 2560. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนของชุมชนตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วงศ์ปกรณ์ ธาราสุข, อภิญญา รัตนไชย, พรพิมล เชื้อดวงผุย และ อาแว มะแส. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทางสายในการจัดการป่าชายเลนตาบลลิพัง อาเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. หน้า 31-42.
สมลักษณา ไชยเสริฐ. 2549. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตารวจสถานีตารวจนครบาล. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2559. ข้อมูลตัวชี้วัดพื้นที่ป่าชายเลน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://is.gd/QYdGuc (11 กุมภาพันธ์ 2563).
โสภา มัดลัง. 2551. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนชุมชนเอื้ออารีย์สังกัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ครุศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.