ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่-ตอง ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ขวัญลดา ธีร์ธนังกูร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คํามณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จิรัฐินาฏ ถังเงิน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, นักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ข้อมูลพื้นฐานและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่-ตอง 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่-ตอง และ 3) ข้อเสนอแนะในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่-ตอง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่-ตอง จำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวมีอายุเฉลี่ย 37.00 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพนักเรียนหรือนักศึกษามากที่สุด มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครปฐมมากที่สุด การเดินทางมาท่องเที่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวครั้งนี้เฉลี่ย 2,015.83 บาท นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่-ตองในระดับมากทุกองค์ประกอบ คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านที่พัก และด้านความสามารถในการเข้าถึง ตามลำดับ

References

กลุ่มสารสนเทศด้านเศรษฐกิจ ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. สถานการณ์การท่องเที่ยว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://service.nic.go.th/strategy.php?file=strategy/policy-1. (25 พฤษภาคม 2562).

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2560ก. ข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย (Inbound Tourism). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://thailandtic.com/th/graph/inbound/index. (25 พฤษภาคม 2562).

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2560ข. ข้อมูลการท่องเที่ยวภายในประเทศ (Internal Tourism Time Series). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://thailandtic.com/th/graph/internal/index. (25 พฤษภาคม 2562).

มติชนออนไลน์. 2559. สศก.คาดท่องเที่ยวเกษตรโตพุ่งหลังรัฐดันโครงการอะเมซิ่งไทยเทสต์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.matichon.co.th/economy/news_209727. (25 พฤษภาคม 2562).

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. 2557. รูปแบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 7 (3): 310-321.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม. 2561. เกษตรเมืองนครปฐม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://agrotourismtavaravadee.com/2018/05/14/ks001/. (25 พฤษภาคม 2562).

เอมอร อังสุรัตน์. 2556. การวิจัยเชิงบูรณาการในงานส่งเสริมการเกษตร. กรุุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ