การศึกษาระยะความบริบูรณ์ของผลมะพร้าวน้ำหอมภายในทะลายเดียวกัน
คำสำคัญ:
มะพร้าวน้ำหอม, อายุผล, ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้, ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้บทคัดย่อ
มีคำกล่าวในหมู่ชาวสวนที่ปลูกมะพร้าวว่า “มะพร้าวในทะลายเดียวกัน มีระยะความบริบูรณ์ที่ไม่เท่ากัน” แต่ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ จึงมีสมมติฐานว่าดอกเพศเมียในช่อดอกมะพร้าวทยอยบาน และได้รับการผสมเกสรไม่พร้อมกัน อาจส่งผลให้มะพร้าวในทะลายเดียวกันมีระยะความบริบูรณ์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงทำการศึกษาถึงระยะความบริบูรณ์ของผลมะพร้าวน้ำหอมที่อยู่ภายในทะลายเดียวกัน โดยเก็บตัวอย่างมะพร้าวน้ำหอมอายุประมาณ 6.5 - 7 เดือน จำนวน 29 ทะลาย บันทึกจำนวนผลต่อทะลาย, น้ำหนักผล, ความหนาของเนื้อมะพร้าว, ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS), ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) และ อัตราส่วน TSS/TA ของน้ำมะพร้าว จากผลการศึกษาพบว่า มะพร้าวน้ำหอมมีจำนวนผลโดยเฉลี่ย 7 - 14 ผลต่อทะลาย น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.74 kg และ ความหนาเนื้อเฉลี่ย 0.44 cm ส่วนน้ำมะพร้าวมีปริมาณ TSS เฉลี่ย 7.42°Brix ปริมาณ TA เฉลี่ย 0.072% และ อัตราส่วน TSS/TA เฉลี่ย 111 ซึ่งผลมะพร้าวในทะลายเดียวกัน (8 - 13 ผลต่อทะลาย) มีน้ำหนักผล, ความหนาเนื้อ, ปริมาณ TSS, ปริมาณ TA และอัตราส่วน TSS/TA ของน้ำมะพร้าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าผลมะพร้าวน้ำหอมในทะลายเดียวกันมีระยะความบริบูรณ์ไม่แตกต่างกัน
References
กลุ่มเกษตรสัญจร. 2531. มะพร้าวน้ำหอม. โรงพิมพ์สหมิตร. 63 น.
ณรงค์ โฉมเฉลา. 2530. เชื้อพันธุ์มะพร้าว. ผู้จัดแต่งพิมพ์เอง, กรุงเทพฯ. 106 น.
เทียมใจ คมกฤส. 2541. กายวิภาคของพฤกษ์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นพพร จรูญชนม์. 2560. พัฒนาการของผลและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สาร 2-Acetyl-1-Pyrroline ในมะพร้าวน้ำหอม.วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2558. กล้วย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 512 น.
พร รุ่งแจ้ง. 2541. มะพร้าว, น. 110-116. ในพฤกษศาสตร์พืชเศรษฐกิจ. ภาควิชาพืชไร่นา, ผู้รวบรวม. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พานิชย์ ยศปัญญา. 2544. มะพร้าวพืชสารพัดประโยชน์. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 176 น.
วรภัทร ลัคนทินวงศ์. 2558. ปัจจัยก่อนและหลังเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อการพัฒนากลิ่นและคุณภาพของมะพร้าวน้ำหอม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ศักดิ์สิทธิ์ ศรีวิชัย. 2533. การปลูกมะพร้าว. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน, กรุงเทพฯ. 94 น.
สุพจน์ ตั้งจตุพร. 2543. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องมะพร้าวน้ำหอม. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี, ชลบุรี.
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน. มปป. การปลูกมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพเพื่อการค้า. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม. 80 น.
อนรรฆ พรรคเจริญ, เกรียงไกร มีถาวร และกิรนันท์ เหมาะประมาณ. 2555. การเกิดและการป้องกันการแตกและกลิ่นผิดปกติในมะพร้าวน้ำหอมระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ศนทก.).
อภิชาติ ศรีสอาด. มปป. มะพร้าวน้ำหอม คู่มือการทำสวนมะพร้าวน้ำหอมอย่างมืออาชีพ. บริษัทนาคา อินเตอร์มีเดีย จำกัด, กรุงเทพฯ. 132น.
Jackson, J.C., A. Gordon, G. Wizzard, K. McCook and R. Rolle. 2004. Changes in chemical composition of coconut (Cocos nucifera) water during maturation of the fruit. Journal of the Science of Food and Agriculture 84: 1049-1052.
Menon K.P.V. and K.M. Pandalai. 1958. The coconut palm, a momograph. Indian central coconut committee, Indian.