การประเมินความต้านทานข้าวพันธุ์พื้นเมืองต่อโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก เชื้อรา Sarocladium oryzae

ผู้แต่ง

  • ผกายวรรณ ซื่อสัตยวงศ์ สาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ชนม์นิภา ดีวงษ์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วนิดา ธรรมธุระสาร ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คำสำคัญ:

ข้าวพันธุ์พื้นเมือง, โรคเมล็ดด่าง, ข้าวพันธุ์ต้านทาน

บทคัดย่อ

ข้าว (Oryza sative) เป็นพืชอาหารที่สำคัญของประชากรโลก โรคเมล็ดด่างเกิดจากเชื้อรา Sarocladium oryzae เป็นโรคสำคัญในการผลิตข้าวเนื่องจากทำให้คุณภาพ และปริมาณลดลง ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้านทานโรคเมล็ดด่างของข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยการปลูกเชื้อรา S. oryzae สายพันธุ์รุนแรง (NMA0114) บนข้าวพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 76 สายพันธุ์ ในสภาพโรงเรือน จากผลการทดสอบโรคพบว่า ข้าวพันธุ์สังข์หยด เป็นข้าวที่มีความต้านทาน (R) และ ข้าวพันธุ์พานทอง หมากน้ำ หอมจันทร์ เหนียวเขี้ยวงู และ ช่อไม้ไผ่ มีลักษณะต้านทานปานกลาง (MR) ต่อเชื้อรา      S. oryzae ด้วยค่าดัชนีการเกิดโรค (Disease index) มีค่า 8.8 19.2 19.8 19.8 21.63 และ 23.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในจำนวนข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ทดสอบนี้มีข้าวที่มีลักษณะอ่อนแอปานกลางจำนวน 43 สายพันธุ์ และอ่อนแอจำนวน 21 สายพันธุ์ ลักษณะอ่อนแอมากจำนวน 6 สายพันธุ์ จากการประเมินนี้แสดงให้เห็นว่า มีความหลากหลายทางพันธุกรรมในข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สามารถเป็นแหล่งของความต้านทานสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคเมล็ดด่างได้ในอนาคต

References

ชนม์นิภา ดีวงษ์. 2563. การจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อรา Sarocladium oryzae สาเหตุโรคกาบใบเน่าของ ข้าว และการประเมินความต้านทานโรค. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตร. นครปฐม. 105 หน้า.

ประพฤติ พรหมสมบูรณ์, ทรงศักดิ์ จันทร์อุดม, อนุสสรณ์ วิเศษสิงห์, สุธัญญา พรหมสมบูรณ์ และคัชชา กาญจนจันทร์. 2559. การรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะทางการเกษตรของข้าว (Oryza sativa L.) พันธุ์พื้นเมืองไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 34(3): 126-132.

พรทิพย์ ถาวงศ์. 2545. ผลของโรคเมล็ดด่างที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดข้าว. วารสารวิชาการเกษตร 20(2): 111-120.

วนิดา ธรรมธุระสาร, ศิริพร ดอนเหนือ, ศิริพร กออินทร์ศักดิ์ และจินตนา อันอาตม์งาม. 2562. การ ประเมินความต้านทานต่อโรคกาบใบเน่าและโรคเมล็ดด่างข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Sarocladium oryzae. วารสารเกษตร 35(1): 113-123.

สำนักงานปลัดกระทรวงพานิชย์. 2563. การส่งออกสินค้าสำคัญของไทยเรียงตามมูลค่า ปี 2558-2662

(มกราคม-ธันวาคม). แหล่งที่มา: http://www.ops3.moc.go.th/export/, 27 มีนาคม 2563.

Ayyadurai, N., S. I. Kirubakaran, S. Srisha and N. Sakthivel. 2005. Biological and molecular variability of Sarocladium oryzae, the sheath rot pathogen of rice (Oryza sativa L.). Current Microbiology 50: 319-323.

Charoenrak, P. and C. Chamswarng. 2016. Efficacies of wettable pellet and fresh culture of Trichoderma asperellum biocontrol products in growth promoting and reducing dirty panicles of rice. Agriculture and Natural Resources 50: 243-249.

Chuaboon, W., N. Ponghirantanachoke and D. Athinuwat. 2016. Application of wood vinegar for fungal disease controls in paddy rice. Applied Environmental Research 38(3): 77-85.

Gopalakrishnan, Ch., A. Kamalakannan and V. Valluvaparidasan. 2010. Effect of seed- borne Sarocladium oryzae, the incitant of rice sheath rot on rice seed quality. Journal of Plant Protection Research 50(1): 98-102.

Lalan Sh., D. T. Nagrale, S. K. Singh, K. K. Sharma and A. P. Sinha. 2013. A study on fungicides potential and incidence of sheath rot of rice caused by Sarocladium oryzae (Sawada). Journal of Applied and Natural Science 5(1): 24-29.

McMaugh, T. 2005. Guidelines for Surveillance for Plant Pests in Asia and the Pacific. ACIAR Monograph No. 119, Australia. 192 p.

Nickolas, H., V. G . Jayalekshmy, C. K. Y. Varma and V. Vighneswaran. 2018. Molecular and field level screening for blast resistance gene donors among traditional rice varieties of Kerala. Journal of Tropical Agriculture 56(2): 93-98.

Prathuangwong, S., D. Athinuwat, W. Chuaboon, T. Chatnaparat, and N. Buensanteai. 2013. Bioformulation Pseudomonas fluorescens SP007s against dirty panicle disease of rice. African Journal of Microbiology Research 7(47): 5274-5283.

R Core Team. 2020. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria. URL https://www.R-project.org/.

Suzuki, F., J. Yamaguchi, A. Koba, T. Nakajima, and M. Arai. 2010. Changes in fungicide resistance frequency and population structure of Pyricularia oryzae after discontinuance of MBI-D fungicides. Plant Disease Journal 94: 329-334.

Tschen, J. S. M. and F. S. Wen. 1980. Physiological studies on etiology of the sterility of rice plants. Plant Protection 22: 57-62.

Yadav, M. K., S. Aravindan, U. Ngangkham, S. Raghu, S. R. Prabhukarthikeyan, U. Keerthana, B. C. Marndi, T. Adak, S. Munda, R. Deshmukh, D. Pramesh, S. Samantaray and P. C. Rath. 2019. Blast resistance in Indian rice landraces: Genetic dissection by gene specific markers. PLoS ONE 14(1): e0211061.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ