อิทธิพลของอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตทางลำต้นและรากของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในไรโซตรอน
คำสำคัญ:
การเจริญเติบโตของราก, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ไรโซตรอน, อัตราปุ๋ยเคมีบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของลำต้นและรากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไรโซตรอน และเพื่อศึกษาการตอบสนองของรากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อได้รับปุ๋ยเคมีอัตราที่แตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ และ 4 สิ่งทดลอง ประกอบด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 0, 25, 50 และ 75 กก./ไร่ บันทึกความยาวรากทั้งหมดและขนาดรากในพื้นที่ที่กำหนด (root projected area) ด้วยกล้องถ่ายรูป วิเคราะห์ภาพถ่ายของรากด้วยโปรแกรม WinRhizo ผลการทดลองพบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยรองพื้น มีค่าความสูงของต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ค่าความเขียวใบ และขนาดใบ น้อยกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตราอื่น ส่วนความยาวราก และ root projected area มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีอายุเพิ่มขึ้น และมีค่าสูงสุดเมื่ออายุ 70 วันหลังปลูก ความยาวราก และ root projected area ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 0 กก./ไร่ แตกต่างจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 25, 50 และ 75 กก./ไร่ โดยที่เมื่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อายุ 70 วันหลังปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 75 กก./ไร่ มีความยาวรากทั้งหมดมากที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราอื่นๆ โดยมีค่าเท่ากับ 7,936 ซม. ส่วน root projected area มีค่าเท่ากับ 867 ซม.2 นอกจากนั้นยังพบว่าผลผลิตต่อต้นของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 0 กก./ไร่ มีค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอัตราอื่นๆ และพบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 25 กก./ไร่ มีผลผลิตต่อต้นสูงที่สุด การใช้เทคนิคไรโซตรอนศึกษาการเจริญเติบโตของรากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของรากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดฤดูปลูกโดยไม่ทำให้ตัวอย่างพืชเสียหาย และสามารถนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาประเมินผลจากอิทธิพลของอัตราปุ๋ยเคมีในการศึกษาในครั้งนี้ได้
References
กรมการข้าว. 2563. การจัดการดินและปุ๋ยในนานข้าว (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: www.ricethailand.go.th/ rkb3/title-index.php-file=content.php&id=0731.htm. (1 ตุลาคม 2563).
กรมพัฒนาที่ดิน. 2550. การเพิ่มผลผลิตพืชที่ปลูกในดินที่มีชั้นดาน. เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี. สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 2 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2562. การจัดการความรู้ เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในเขตพื้นที่ภาคกลาง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.doa.go.th/share/showthread.php?tid=2431&pid=2451. (1 ตุลาคม 2563).
ชูเกียรติ พระดาเวช ณัฐพล คงดี และวันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. 2560. ผลของระยะเวลาการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด. น. 110-118. ใน: การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 5., กรุงเทพฯ.
ธนวัฒน์ เสนเผือก สกุลกานต์ สิมลา และพรชัย หาระโคตร. 2559. อิทธิพลของความหนาแน่นประชากรต่อผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวโพด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (35): 123-132.
บูรณา วาษาราม, อรุณศิริ กำลัง, จันทร์จรัส วีรสาร และรจนา ตั้งกุลบริบูรณ์. 2558. ผลของการจัดการดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์สุวรรณ 4452. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 (2): 14-28.
พรนภา ขาวมาก สุชัญญา เจริญเส็ง สุภาพร สุภีโส และอรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์. 2561. การประเมินอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในชุดดินตาคลี. วารสารดินและปุ๋ย. 40, (2): 39-48.
สมชาย บุญประดับ. 2554. การปลูกพืชไร่หลังนา, น. 79-87. ใน: ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2554. กรุงเทพฯ.
Arunah, U.L., E. B. Amans, M. Mahmud, A. Ahmed, G. L. Luka, A. S. Isah, B. A. Babaji and E.C. Odion. 2014. Yield and yield components of maize as influenced by row arrangement, nitrogen and phosphorus levels in maize (Zea mays L)/ castor (Ricinus communis) mixture. Agriculture and Veterinary Science 7: 45-49.
Caldwell, M.M. and R.A. Virginia. 1989. Field method and instrumentation. PP. 367-398. In: J. Ehleringer, H.A. Mooney, R.W. Pearcy and P. Rundel (eds.). Plant Physiology Ecology. Chapman and Hall Publ., London.
Chen, J., L. Kiu, Z. Wang, Y. Zhang, H. Sun, S. Song, Z. Bai, Z. Lu, and C. Li. 2020. Nitrogen fertilization increases root growth and coordinates the root-shoot relationship in cotton. Frontiers in Plant Science 11:880, doi: 10.3389/fpls.2020.00880.
Costa, C, L.M. Dwyer, R.I. Hamilton, C. Hamel, L. Nantais and D.L. Smith. 2000. A sampling method for measurement of large root systems with scanner-based image analysis. Agronomy Journal 92: 621–627.
Gong, D., W. Hao, X. Mei, X. Gao, Q. Li and K. Caylor. 2015. Warmer and wetter soil stimulates assimilation more than respiration in rainfed agricultural ecosystem on the China loess plateau: The role of partial plastic film mulching tillage. Plos One 10(8), doi: 10.1371/journal.pone.0136578.
Kukal, S.S. and G.C. Aggardwal. 2003. Puddling depth and intensity effects in rice-wheat system on sandy loam soil: I. Development of subsurface compaction. Soil and Tillage Research 71(1): 1-8.
Novoa, R. and R.S. Loomis. 1981. Nitrogen and plant production. Plant and Soil 58: 177-204.
Ogawa, A., C. Kawashima and A. Yamauchi. 2015. Sugar accumulation along the seminal root axis, as affected by osmotic stress in maize: A possible physiological basis for plastic lateral root development. Plant Production Science 8(2): 173-180.
Pearce, R.B., J.J. Mock and T.B. Bailey. 1975. Rapid method for estimating leaf area per plant in maize. Crop Science 15: 691-694.
Peng, Y., X. Li and C. Li. 2012. Temporal and spatial profiling of root growth revealed novel response of maize root under various nitrogen supplies in the field. Plos One 7(5), doi: 10.1371/journal.pone.0037726.
Piekielek, W. 1997. The early season chlorophyll meter test corn. (Online). https://www.specmeters.com/assets/1/7/SPAD_on_corn.pdf. (1 October, 2020).
Prudente, J.A., G. C. Sigua, M. Kongchum and A.D. Prudente. 2008. Improving yield and nutrient uptake potentials of Japonica and Indica rice varieties with nitrogen fertilization. World Journal of Agriculture Sciences 4: 427-434.
R Core Team. 2013. R: A Language and environment for statistical computing, R foundation for statistical computing, Veinna, Australia. (Online) https://www.r-project.org/. (10 Mar,2019).
Suwanmontri, P., A. Kamoshita and S. Fukai. 2020. Recent changes in rice production in rainfed lowland and irrigated ecosystems in Thailand. (Online). https://www.tandfonline.com/ doi/ full/ 10.1080/1343943X.2020.1787182. (1 October, 2020).
Vial, L.K., R.D.B. Lefroy and S. Fukai. 2013. Effects of hardpan disruption on irrigated dry-season maize and on subsequent wet season lowland rice in Lao PDR. Field Crops Research 152: 65-73.
Williams, M.M. 2012. Agronomics and economics of plant population density on processing sweet corn. Field Crops Research 128: 55-61.