การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำเห็ด ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดอินทรีย์ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เชิดพงษ์ ขีระจิตต์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • รพี ดอกไม้เทศ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร, ผลิตภัณฑ์น้ำเห็ด, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์              น้ำเห็ดของวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดอินทรีย์ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการแปรรูป และการควบคุมมาตรฐานสินค้าน้ำเห็ด 3) ศึกษาผลการทดสอบชิมผลิตภัณฑ์น้ำเห็ดกับผู้บริโภค ทำการเก็บข้อมูลโดยการประชุมกลุ่มย่อยเกษตรกรที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 39 คน เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร จำนวน 45 คน จากนั้นจึงทำการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของเกษตรกร และทำการทดสอบชิมผลิตภัณฑ์น้ำเห็ดกับผู้บริโภค จำนวน 120 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องของระยะเวลาในการเก็บรักษา และความต้องการ ที่จะยกระดับสินค้าเพื่อให้ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร รวมไปถึงองค์ความรู้ในเรื่องของการแปรรูปน้ำเห็ดทั้งในเรื่องของมาตรฐานรสชาติ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการต้ม ระยะเวลาในการต้ม รวมไปถึงวิธีการในการฆ่าเชื้อ และการบรรจุขวด 2) ผลการประเมินการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำเห็ด สรุปได้ว่า เกษตรกรทั้งหมดเห็นว่าการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มีประโยชน์ สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำเห็ดให้มีมาตรฐาน และช่วยแก้ปัญหาในเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาได้ ในส่วนของความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการฝึกอบรม พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดสอบชิมผลิตภัณฑ์น้ำเห็ด พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความชอบน้ำเห็ด สำหรับปัจจัยที่ทำให้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำเห็ด พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด สำหรับผลการทดสอบชิม พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อรสชาติมากที่สุด รองลงมาคือ เนื้อสัมผัส กลิ่นรส และสี ตามลำดับ

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. การเพาะเห็ดเบื้องต้น. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.thaiscience.info/Journals/Article/TJKM/10766659.pdf (10 ตุลาคม 2562).

พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง คนึงรัตน์ คำมณี จิรัฐินาฎ ถังเงิน และเตชินทร์ ศรีเหนี่ยง. 2563. บทบาทนักส่งเสริมการเกษตรต่อการพัฒนาตลาดเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี. วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ. 3 (3): 12 – 21.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุวิทย์ สุวรรณโณ. 2553. การผลิตน้ำเห็ดสมุนไพรสกัดพร้อมดื่ม. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: www.thaiscience.info/Journals/Article/TJKM/10766659.pdf (24 สิงหาคม 2562).

อนุชา โสมาบุตร. 2556. กระบวนการยอมรับนวัตกรรม ตามแนวคิดของ Rogers. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: www.iteacherthai.blogspot.com/2013/02/rogers-2003.html (15 ธันวาคม 2562).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ